วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

RSS

ความหมายของ RSS
RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndication คือ บริการที่อยู่บนระบบ อินเตอร์เน็ท 
จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML เพื่ออำนวยความสะดวกให้ กับผู้ใช้ 
โดยส่งข่าวหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มีการ Updateไม่ต้อง 
เสียเวลาเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา


ข้อดีของ RSS 
ข้อดีของ RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์ โดยเฉพาะกรณีการ
ละเมิด ลิขสิทธิ์ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อ 
ต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์เป็น 
ศูนย์กลางมากขึ้น


จุดเด่นของ RSS 
จุดเด่นของ RSS  คือ ผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูล 
อัพเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัพเดท ไม่เท่ากัน 
บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัพเดทใหม่บนเว็บไซต์ ไม่ครบถ้วน 
รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับข่าวสารอัพเดทใหม่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปดู
ทุกครั้งให้เสียเวลา ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและ ฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์


ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/xml_kt/rsshelp/prss.html




วิธีการบอกรับ RSS 
1. ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ Gmail ก่อน จึงจะสามารถบอกรับ RSS ใน igoogle ได้
จากนั้นเข้าสู่ระบบเพื่อเตรียมตัวเข้าการบอกรับ RSS จาก igoogle จะเห็นได้ว่ามีแถบ
ด้านบนขวามีคำว่า igoogle 
2.จากนั้นคลิกเข้าสู่หน้า igoogle เมื่อเข้ามาสู่หน้า igoogle ให้เลือกเปลี่ยนจากหน้า 
google classic เป็น igoogle
3. คลิกที่ "เพิ่มเนื้อหา" ทางด้านซ้ายสุดของหน้าจอหลัก โดยสามารถจะเพิ่มGadget 
เข้าไปในหน้าแรกของigoogleของเราได้ สามารถเลือกบอกรับ Gadget ที่ชอบหรือสนใจ 
เพื่อทำการบอกรับ RSS จาก Gadget ต่างๆ
4.  จากนั้นมองหาสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย RSS feed บนหน้าเว็บเพจที่เราต้องการ
นำมาไว้ที่หน้าแรก iGoogle โดยหาเครื่องหมาย RSS feed จากการเลือก Gadget 
5.Gadget ต่างๆที่เราบอกรับ RSS จะมีการอัพเดทข้อมูลอยู่ตลอดเวลา

กิจกรรมห้องสมุด


กิจกรรมห้องสมุด 
หมายถึง เป็นงานที่ทางห้องสมุดจัดขึ้นเป็นครั้งคราว หรือจัดขึ้นเนื่องในโอกาสสำคัญต่างๆ 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ห้องสมุดและส่งเสริมด้านการอ่าน

ความสำคัญของกิจกรรมห้องสมุด 
การจัดกิจกรรมห้องสมุดเป็นประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์เพื่อให้มีผู้รู้จักห้องสมุดมากยิ่งขึ้น
และยังเป็นการกระตุ้นให้มีผู้มาใช้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดอย่างคุ้มค่าและช่วยให้
ผู้ใช้มีความกระตือรือร้นในการติดตามอ่านหนังสือหรือค้นคว้า มีส่วนช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียน
เกิดความคิดสร้างสรรค์ สามารถค้นคว้าหาข้อมูลมาจัดกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี


วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมห้องสมุด 
1. เพื่อประชาสัมพันธ์งานและบริการต่างๆของทางห้องสมุด
2. เพื่อรณรงค์ให้มีการอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น
3. เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดความอยากอ่านหนังสือประเภทต่างๆมากยิ่งขึ้น
4. เพื่อเป็นก้าวแรกของการรู้จักศึกษาค้นคว้าสารสนเทศมาใช้จัดกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพ 
อันจะก่อให้เกิดประสิทธิผลต่อผู้เข้าชมกิจกรรมในแต่ละครั้ง

ประเภทของกิจกรรมห้องสมุด
กิจกรรมของห้องสมุดอาจจัดแบ่งประเภทตามวัตถุประสงค์ที่จัดได้ ดังนี้
1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน       เป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจให้แก่สมาชิก เพื่อให้
เกิดความสนใจในการอ่านหนังสือและก่อให้เกิดนิสัยรักการอ่าน ได้แก่
- การเล่านิทาน
- การเล่าเรื่องหนังสือ
- การตอบปัญหาจากหนังสือ
- การอภิปราย
- การออกร้านหนังสือ
- การแสดงละครหุ่นมือ
- การโต้วาที
- การประกวดต่างๆ
- การจัดการแข่งในรูปแบบต่างๆ
- การจัดการแสดงหนังสือใหม่
- การวาดภาพโดยใช้จินตนาการจากการฟังนิทาน

2. กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้สมาชิกหรือบุคคลทั่วไปรู้จักใช้ห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้า
ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น ได้แก่ 
- การแนะนำการใช้ห้องสมุด 
- การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด 
- การนำชมห้องสมุด 
- การอบรมนักเรียนให้รู้จักช่วยงานห้องสมุด หรือที่เรียกกันว่า ยุวบรรณรักษ์ นั่นเอง 

3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน
เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ 
ได้แก่ 
- การจัดนิทรรศการ 
- การประกวดคำขวัญ 
- การประกวดเรียงความ 
- การตอบปัญหา 
- การประกวดวาดภาพ 
- การให้ความร่วมมือกับผู้สอนในการจัดให้มีการศึกษาค้นคว้าในชั่วโมงเรียน 

4. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป
เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อเสริมความรู้ให้แก่ผู้ใช้บริการ ได้แก่ 
- การจัดสัปดาห์ห้องสมุด 
- การจัดนิทรรศการ 
- การสาธิตภูมิปัญญาไทย 
- การจัดป้ายนิเทศเสริมความรู้ ซึ่งป้ายนิเทศนี้เป็นป้ายที่ใช้ในการบอกกล่าวถึงสิ่งต่างๆ
หรือเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นอย่างสั้นๆ ช่วยในการสื่อความรู้
ที่ไม่เน้นการสื่อในรูปแบบของข้อความ ผู้ที่พบเห็นจึงสามารถที่จะทำความเข้าใจได้
ง่ายมากยิ่งขึ้น 
- การฉายสื่อมัลติมีเดีย 
- การตอบปัญหาสารานุกรมไทยและหนังสือความรู้รอบตัว 

5. กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จากการอ่าน ได้แก่ 
- การจัดมุมรักการอ่าน 
- การจัดมุมหนังสือในห้องเรียน 
- การจัดห้องสมุดเคลื่อนที่ 



การเล่านิทาน(Story telling)
การเล่านิทานเป็นกิจกรรมที่ช่วยในการส่งเสริมการอ่านประเภทหนึ่งที่ช่วยให้เด็กมีนิสัย
รักการอ่าน เพราะนิทานสามารถให้ทั้งความสนุกสนาน เพลิดเพลิน สามารถช่วยเพิ่มพูน
ความรู้ทางภาษา เสริมสร้างจินตนาการ ผู้เล่าจะต้องศึกษานิทานก่อนที่จะถ่ายทอดให้
ผู้ฟังได้ เนื่องจากการเล่านิทานให้เข้าถึงตัวละครจะทำให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนานและนำ
ไปสู่การอ่านที่ดีได้ การเล่าให้เกิดความสนุกสนานน่าติดตามจะทำให้ผู้ฟังสนใจมากยิ่งขึ้น
 สาระน่ารู้ของกิจกรรมการเล่านิทาน 
1. เรื่องเล่าอย่างไรที่เรียกว่า “นิทาน” 
2. ความเป็นมาของการเล่านิทาน 
3. ประเภทของนิทานที่มีอยู่ในประเทศไทย 
4. การเลือกนิทานสำหรับใช้ในการเล่า 
5. การเตรียมตัวก่อนการเล่านิทาน 
6. วิธีที่ใช้ในการเล่านิทาน 
7. ประโยชน์ของการเล่านิทาน

ประเภทของนิทานที่มีในไทย 
1. นิทานก่อนมีประวัติศาสตร์ 
2. นิทานประเภทชาดกในนิบาตชาดก ซึ่งเป็นนิทานเกี่ยวกับศาสนาพุทธ คำเทศน์ 
เช่น พระเวสสันดรชาดก เป็นต้น 
3. นิทานประเภทคำกลอน 
4. นิทานชาดกนอกนิบาตชาดก เป็นนิทานพื้นเมืองของผู้คนตามท้องถิ่นต่างๆ 
ที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธ 
5. นิทานพื้นเมือง 
6. นิทานประเภทจักรๆ วงศ์ๆ 
7. นิทานสุภาษิต 
8. นิทานยอพระเกียรติ 

 การเล่านิทานสำหรับการเล่า  
เป็นวรรณกรรมที่มีการเลือกสรรมาเล่าให้เด็กๆฟัง ควรมีลักษณะดังนี้ 
1. นิทานปรัมปรา 
2. ร้อยกรอง 
3. สารคดี 
4. ประวัติบุคคลสำคัญ 
5.การใช้สื่อสมัยใหม่ประกอบการเล่า ซึ่งในปัจจุบันมีแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่
นิยมทำเป็น Animation และมีการนำโปรแกรมต่างๆ หรือเครื่องมือต่างๆมา
ประกอบการเล่าอีกด้วย


 การเตรียมตัวก่อนการเล่านิทาน 
การเล่านิทานเป็นศิลปะที่สามารถฝึกฝนได้ ผู้เล่าจะต้องอ่านเรื่องที่เล่าซ้ำๆจนจำได้ขึ้นใจ บางครั้งอาจต้องใช้หนังสือประกอบ โดยเฉพาะเมื่อเล่าให้เด็กเล็กๆฟัง 

นิทานที่เหมาะสำหรับเล่า 
1. มีความเคลื่อนไหวอยู่ในเรื่อง 
2. มีเนื้อเรื่องที่เร้าใจ 
3. มีพรรณนาโวหาร 
4. มีการใช้คำซ้ำๆ ข้อความซ้ำๆ และมีความคล้องจองกัน 
5. ตัวละครจะมีปฏิภาณ และมีไหวพริบ
6. เนื้อเรื่องให้ความรู้สึกที่สะเทือนใจ 
7. จะต้องไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเกินไป 
8. ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กและสัตว์เล็กๆ 
9. เป็นนิทานสุภาษิตและนิทานอีสป 
10. เป็นเรื่องที่ขำขัน 
11. อาจเป็นเรื่องของตำนาน นิทานพื้นเมือง เทพนิยาย และเทพปกรนัม

วิธีการเล่านิทาน 
1. มีการจัดให้เด็กนั่งเตรียมพร้อมสำหรับการฟัง 
2. สร้างบรรยากาศในการเล่า 
3. เล่าด้วยความมั่นใจ 
4. ใช้ภาษาและสำนวนที่สามารถเข้าใจได้ง่าย 
5. ผู้เล่าต้องมองผู้ฟังทุกคนอย่างทั่วถึง 
6. ผจิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่เล่า 
7. ผู้เล่าจะต้องพยายามสร้างมโนภาพในเรื่องที่จะเล่า 
8. ควรมีการแสดงท่าทางประกอบตามสมควร 

ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการฟังนิทาน 
1. เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักเลือกอ่านหนังสือ 
2. เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักแก้ปัญหาให้ตนเองได้ เมื่อนำตนเองเข้าไปเปรียบเทียบกับตัวละครในเรื่อง 
3. ทำให้เด็กๆ มีประสบการณ์กว้างขวางมากยิ่งขึ้น 
4. ช่วยเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้หัวเราะและมีจินตนาการร่วมกัน 
5. ช่วยให้เด็กๆ ได้ตัดสินใจว่าเป็นสิ่งที่สังคมของเขายอมรับ


การสัมมนาเรื่องสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA)

Library Trend - IFLA , ALA, UNESCO
ปัจจุบันมีการพัฒนาความรู้ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดทำให้ทางห้องสมุดจะต้องมีการพัฒนา
และการเปลี่ยนแปลงการบริการในด้านต่างๆ ภายในห้องสมุดให้มีความทันสมัยกับโลก
ในยุคปัจจุบันซึ่งการพัฒนาให้ห้องสมุดมีการบริการที่ทันสมัยที่สะดวกสบายรวดเร็วกับ
ความต้องการของผู้ใช้และทันตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะช่วยให้ผู้ใช้มีความ
สนใจและเข้ามาใช้บริการจากทางห้องสมุดมากยิ่งขึ้น



 New Services : การบริการใหม่ๆที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน

1. Cloud computing  เป็นระบบคอมพิวเตอร์หรือเครื่องที่ใช้ในการให้บริการต่างๆ เช่น
- Facebook
- Gmail
- Meebo
- Other social network
แยกตามกลุ่มผู้ใช้
1. Cloud ระดับองค์กร เช่น Cloud Library
2. Cloud ระดับบุคคล มีการให้บริการ เช่น Gmail , Facebook , Meebo
3. Cloud แบบผสม เช่น Dropbox
แยกตามการให้บริการ
1. Public Cloud เป็น Could ที่ใช้แบบสาธารณะ เช่น Facebook, Gmail
2. Private Cloud เป็น Could แบบส่วนตัว
3. Hybrid Cloud บริการในทุกระดับ
แยกตามประเภทเทคโนโลยี
1. Saas : Software as a service เช่น
- www.zoho.com
- doc.google.com
- Facebook
2. Iaas : Infrastruture as a service
3. Paas : Platform as a service

2. Mobile Device  จะต้องรู้จักกลุ่มผู้ใช้และพฤติกรรมการใช้ของผู้ใช้ ซึ่งสามารถดู
ได้จากสถิติ เช่น Truehits.net และปัจจุบันมีการแบ่ง Mobile ออกเป็น 4 ประเภท
- Smart phone Java , Debian
- Tablet Android
- e Reader ios , iPad
- Netbook ใช้กับ Microsoft Windows

3. Digital Content and Publishing eBook , IR , Digital Library , OJS 
ได้รับกระแสและอิทธิพลมาจากการเปลี่ยนแปลงในการผลิต Digital Content ต่างๆ ทั้ง
ที่เป็นในรูปแบบของ บทความ วารสาร ฐานข้อมูลต่างๆ eBook ใน Format ต่างๆ เช่น 
File pdf. ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบ Digital Content Online สามารถใช้งานด้วย
เครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านระบบเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถดูตัวอย่างได้
จาก ag-ebook.lib.ku.ac.th
กระบวนการขั้นตอนของการจัดทำ ebook
1. การได้มาของเนื้อหา 
2. กระบวนการผลิตและรูปแบบ
3. ลิขสิทธิ์ ต้นฉบับและการเผยแพร่
    - ลิขสิทธิ์ของต้นฉบับ
    - ลิขสิทธิ์ของการเผยแพร่ 




4. Crosswalk Metadata เป็นลักษณะของการข้ามผ่านจากข้อมูลชุดหนึ่งไปยังข้อมูลอีก
ชุดหนึ่ง หรือเป็นการผสมรวมกันระหว่าง metadata มากกว่า 1 รูปแบบ เช่น
- MARC 
- MARCML
- Dublin Core 
- ISDA (g)
- CDWA 
- RDF 
- EXIF (เป็นมาตรฐานของรูปภาพดิจิทอล)
- XMP (เป็นมาตรฐานของรูปภาพดิจิทอล) 
- IPTC (เป็นมาตรฐานของรูปภาพดิจิทอล)
- OWL 
- MODS
- METS 
- PDF 
- DOC Metadata 



5. Open Technology  ได้แก่
1. Z39.5 : เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ
2. Z39.88 : เป็นโปรแกรมที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ช่วยในการ
ให้ข้อมูลบรรณานุกรมและการอ้างอิงแหล่งที่มาของทรัพยากรสารสนเทศ 
3. OAI - PMH : เป็นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันนี้ สามารถให้รายละเอียด
และข้อมูลทางบรรณานุกรมได้ โดยเน้นแนวหลัก คือ การทำ One search (ช่องสืบค้นที่
สามารถได้รายละเอียดและข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่มาให้การค้นเพียงครั้งเดียว) 
และในส่วนของคำสำคัญ หรือ keyword ก็สามารถที่จะนำมาใช้ใน Link Data ได้อีกด้วย
ตัวอย่างเช่น ช่องสืบค้นจาก tnrr.in.th


6. Data & Information Mining/ Visualization  การค้นหาข้อมูลแต่ละครั้งจะต้องทำ
ดังต่อไปนี้
1. Search
2. ทำการวิเคราะห์
3. แสดงผลเป็นเส้นโยงความสัมพันธ์
การใช้ Visual ที่ใช้ร่วมกับงานห้องสมุด
- Vadl.cc.gatech.edu/
- labs.ideeinc.com/visaul
- labs.ideeinc.com/multicolour
- www.krazydad.com/colrpickr/

7. Green Libary เนื่องจากในปัจจุบันผู้คนให้ความตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็น
จำนวนมากซึ่งเป็นผลกระทบและอิทธิพลจาก Global warming ทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจ
และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรวมไปถึงสภาพพื้นที่สีเขียวของโลก
-  Green Building
-  Green ICT 


บริการข่าวสารทันสมัย CAS

บริการข่าวสารทันสมัย CAS (Current Awareness Services)
            เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้ทราบข้อเท็จจริง ข่าวสาร ความก้าวหน้าใหม่ๆ
ในสาขาที่เกี่ยวข้องหรือ ในสาขาที่ผู้ใช้บริการห้องสมุดมีความสนใจ ซึ่งจะได้รับข้อมูล
อย่างรวดเร็วด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดทำรายชื่อทรัพยากรสารนิเทศใหม่ การหมุนเวียน
วารสารฉบับปัจจุบันให้แก่ผู้ใช้  หรือการถ่ายสำเนาหน้าสารบัญวารสารฉบับล่าสุดออก
เผยแพร่แก่ผู้ใช้เพื่อเลือกอ่านบทความที่ต้องการหรือสนใจ




CAS อาจเรียกอีกอย่างว่า 
- Selective dissemination of information services (SDI) : จัดเป็นส่วนหนึ่งในบริการ
CAR เป็นบริการที่จะทำตามคำขอของผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นบริการเฉพาะบุคคลที่หาก
หมดความต้องการของผู้ใช้บริการแล้วก็จะทำการงดหรือยกเลิกการให้บริการนี้
- Current alerting services Individual article supply (CAR) : เป็นบริการที่จะแจ้งให้ผู้ใช้
ทราบถึงข้อสนเทศใหม่ๆ ตามความสนใจของผู้ใช้ทันทีที่สถาบันฯนั้นได้รับทรัพยากร
สารสนเทศ ดังกล่าวมา ซึ่งอาจได้รับมาในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น รูปแบบสิ่งพิมพ์
หรือรูปแบบของสื่อสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์/สื่อประสม
- Alerting services/Alerts : บริการที่จะแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงข้อสนเทศใหม่ๆ ตามความสนใจ
ของผู้ใช้ทันที


ปรัชญาของการบริการ
   เอกสารที่ต้องการสำหรับบุคคลที่ใช่ในเวลาที่ทัน คือ การจัดการเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการ
ได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้และ ทำให้ผู้ใช้ได้รับเอกสารดังกล่าวทันทีหรือในเวลา
ที่ที่ผู้ใช้ต้องการ


วัตถุประสงค์ในการให้บริการ
   จะต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ทันสมัย
และตรงต่อความต้องการอย่างรวดเร็ว และเปิดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
เพื่อช่วยประหยัดเวลาสำหรับผู้ใช้ให้มากที่สุด




รูปแบบการบริการ CAS 
1. รูปแบบเดิม : จะมีการเวียนเอกสารหรือจัดส่งโดยตรง
- สำเนาหน้าปก สำเนาสารบาญ หรือ หน้าแรกของบทความหรือสาระสังเขป
- ตัดข่าวหนังสือพิมพ์ส่งหรือสรุปข่าว
- นำเสนอจดหมายข่าว NewsLetter โดยจะมีการแจ้งเตือนข่าวสารใหม่ๆ ที่ห้องสมุดบอก
รับเนื่องจากงาน CAS ในรูปแบบเดิมใช้เวลาในการจัดทำมาก ในปัจจุบันจึงเริ่มมีการนำ
เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการให้บริการเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการให้
บริการ และเพิ่มความรวดเร็วในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
2. ผู้ค้าฐานข้อมูลเริ่มจัดทำบริการเสริมการใช้ฐานข้อมูล เช่น
- Injenta จะให้บริการในการส่งบทความใหม่ๆ ทุกอาทิตย์ในหัวข้อที่ผู้ใช้บริการมีความ
สนใจโดยจะมีการแจ้งให้ผู้ใช้ทราบทาง e-mail
- Emerald มีการจัดทำบริการจดหมายข่าว TOC และแจ้งบทความใหม่ในเรื่องหรือหัวข้อ
ที่ผู้ใช้กำหนด ซึ่งจะแจ้งให้ทราบทาง e-mail
- Google จัดบริการ Alert โดยจะแจ้งบทความใหม่ในเรื่องหรือหัวข้อที่ผู้ใช้กำหนด
แจ้งให้ผู้ใช้ทราบทาง e-mail เช่นกัน


การเวียนเอกสารแบบเดิม จัดทำได้ 3 วิธี
1)  ส่งโดยตรงจากผู้ใช้ต่อๆกันไป และจะต้องส่งกลับมายังสถาบันบริการเมื่อผู้ใช้คน
สุดท้ายใช้เสร็จแล้ว
2)  แบ่งผู้ใช้ออกเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยจัดกลุ่มผู้ใช้ตามที่อยู่ เมื่อเวียนใช้เอกสารภายใน
กลุ่มเสร็จแล้วก็จัดส่งคืนให้สถาบันบริการสารสนเทศ แล้วจึงจังส่งไปยังกลุ่มอื่นต่อไป
3)  จัดส่งโดยตรงไปยังผู้ใช้แต่ละคน โดยให้ผู้ใช้ส่งกลับมาที่สถาบันบริการสารสนเทศ
ทุกครั้งเมื่อใช้เสร็เพื่อทางสถาบันจะได้จัดส่งให้ผู้ใช้คนต่อไป



ข้อควรปฏิบัติในการเวียนเอกสาร 
1.ไม่ควรจัดบริการนี้แก่สมาชิกใหม่ จนกว่าจะแน่ใจว่าเป็นบริการที่สมาชิกต้องการจริงๆ
เพราะเป็นการทำให้เสียเวลาในการบริการเอกสารให้กับผู้ใช้ที่ต้องการคนอื่นๆ จึงต้องแน่ใจ
จริงๆว่าสมาชิกใหม่ต้องการใช้
2.ไปเยี่ยมผู้ใช้เป็นครั้งคราว เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้ส่งเอกสารที่นำไปหมุนเวียนเร็วขึ้น
3.จัดลำดับให้ผู้ใช้ได้รับเอกสารก่อนหลังสลับกันบ้าง เพื่อความเสมอภาคในการได้รับ
สารสนเทศอย่างเท่าเทียมกัน

ข้อดีของการเวียนวารสาร 
-  เป็นการกระจายสารสนเทศไปสู่ผู้ใช้ที่แน่นอน ทั้งผู้ใช้บริการที่อยู่ห่างไกล และผู้ที่ไม่
สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ตนเองต้องการได้อย่างเป็นประจำ
-  เป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ใช้ได้เห็นเนื้อหาของเอกสารประเภทต่างๆที่มีจัดไว้ให้บริการ

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บริการสอนการใช้

บริการสอนการใช้
          บริการการสอนใช้ นั้นจะมีเจ้าหน้าที่หรือบรรณารักษ์ของห้องสมุดจะเป็นผู้ให้บริการ 
เพื่อสอนทักษะใน การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้
ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) และยังทำให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้ด้วยตัวของ
เขาเอง เมื่อผู้ใช้มีทักษะแล้ว ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่ผู้ใช้ต้อง
ได้มากมาย และยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาความรู้ความสามารถต่างๆ และยังทำให้
เกิดแห่งความรู้ใหม่ ,สังคมการเรียนรู้ และเครือข่ายการเรียนรู้ ซึ่งในปัจจุบันมีการเปลี่ยน
แปลงตลอดเวลา 


องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
1. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ
2. การเข้าถึงสารสนเทศ 
3. การประเมินสารสนเทศ
4. ความสามารถในการนำเสนอสารสนเทศ
5. ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ

ลักษณะในการจัดบริการ 
บริการสอนการใช้ห้องสมุดจะมีการจัดบริการที่แบ่งออกเป็น 2 แบบ
1. บริการเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction)
2. บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)

การสอนเรื่องการรู้สารสนเทศ
ปัจจุบันการสอนเรื่อง การรู้สารสนเทศ มีการสอนตั้งแต่ระดับปฐมศึกษา,มัธยมศึกษา 
และอุดมศึกษา ซึ่งมีหลักสูตรต่างกัน ตามหลักสูตรของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้
กับผู้ศึกษาในอนาคต และทำให้ผู้ใช้ เกิดการแสวงหาข้อมูลสารสนเทศด้วยตัวของ
เขาเอง เมื่อต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมทางสถาบันต่างก็มีการจัด
1 การสอนเป็นรายวิชาอิสระ
2 บทเรียนแบบออนไลน์
3 สมุดแบบฝึกหัด เช่น การทำสมุดคู่มือและแบบฝึกหัดการรู้สารสนเทศ
4 การสอนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
5 การสอนแบบบูรณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร ขึ้นมาเพื่อผู้ที่สนใจและเป็นประโยชน์
ต่อไปในอนาคต




ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
  การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก 
เพราะการรู้สารสนเทศจะสามารถนำไปต้อยอดความรู้ในเรื่องต่างๆ ได้ และผู้ใช้
สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถของมนุษย์ให้มี
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ มีวิจารณญาณ และความสามารถ
ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการนำส่งเอกสาร

บริการนำส่งเอกสาร 
         บริการในการจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ รวมถึง
สิ่งพิมพ์ที่ยังไม่ได้เผยแพร่จัดส่งในรูปแบบกระดาษหรือวัสดุย่อส่วนหรือเอกสาร
อิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการคิดค่าบริการส่งสำหรับผู้ขอ
รับบริการด้วย อีกทั้งผู้บริการนำส่งจะต้องทราบเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ และการ
เสียค่าลิขสิทธิ์ด้วย



ปรัชญาของการบริการ
  • ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถมีทรัพยากรสารสนเทศครบตามที่ผู้ใช้ต้องการ
  • เพื่อตอบความต้องการผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง อีกทั้งยังบริการ
ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
  • แก้ปัญหาการบริการ  ไฟไหม้ น้ำท่วม หาย
  • เพิ่มศักยภาพในการบริการให้กับห้องสมุดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้

วัตถุประสงค์ของการบริการ
           เพื่อการให้บริการผู้ใช้แบบ Just in time (ทันกาล) การให้บริการผู้ใช้ได้ในทันทีที่
ผู้ใช้ต้องการต้องการ โดยการดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่จากแหล่งใด
ก็ตาม มาให้ผู้ใช้ในระยะเวลาที่ผู้ใช้

บริการนำส่งสารสนเทศ D.D (Document Delivery)
           เป็นบริการเสริมที่มีการจัดทำทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งไม่มีการให้บริการ
ในห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้ได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ เป็นบริการ
ที่ผู้ใช้ไม่จะเป็นต้องไปยืมเองเพียงรอรับทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการที่ห้องสมุดหรือ
สถาบันที่ขอรับบริการ

-มีการบริการหนังสือ บทในหนังสือ บทความวารสาร รายงานการประชุม รายงาน 
การวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากห้องสมุดไม่มีให้สำหรับจัดบริการให้แก่ผู้ใช้
-มีการติดต่อเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการจากผู้จัดจำหน่าย เช่น วารสารมี
ราคาสูง จะใช้บริการเป็นครั้งๆ เมื่อต้องการ (Pay per use)
-การจัดการให้ผู้ใช้ได้เอกสารผ่านฐานข้อมูล


 วิธีการนำส่ง

  • แบบฉบับพิมพ์
1. แบบเดิม มีการบริการจัดส่งทางไปรษณีย์ โทรสาร 
2. แบบปัจจุบัน มีการบริการจัดส่งสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ สแกนส่ง แนบไฟล์
- ส่งทางไปรษณีย์ เป็นการนำส่งที่มีความล่าช้าและใช้ระยะเวลานาน
- ทางโทรสาร ข้อมูลที่ได้รับอาจไม่ชัดเจน ไม่ครบถ้วน
- ทางยานพาหนะ เป็นการนำส่งที่มีความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการกับผู้ใช้บริการ 

  • อิเล็กทรอนิกส์
- E-mail ต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเท่านั้นจึงจะทำการบริการได้
- ส่งด้วยภาพลักษณ์เอกสาร เป็นการส่งเอกสารแบบ Tiff File ไม่สามารถคัดลอกได้





ผู้ให้บริการ
 1. สถาบันบริการสารสนเทศ จัดส่งในสถาบัน เช่น 
- ทาง e-mail
- ทางระบบออนไลน์  e-office 
- ยานพาหนะที่สามารถจัดส่งทั้งภายในและภายนอกสถาบันแต่มีข้อตกลงร่วมกัน

2. ตัวแทนจัดหาและจัดส่งเอกสาร
 - ผู้ให้บริการทั่วไป Ingenta 
 -  ผู้ให้บริการเฉพาะด้านสาขา  Proquest /UMI  Thesis
 -  ผู้ให้บริการที่เป็นสำนักพิมพ์  Elsevier Science, SpringerLink
 -  ผู้ให้บริการที่เป็นผู้จำหน่ายฐานข้อมูล Dialog
 -  ผู้ให้บริการที่เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker)  Infotrieve

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการหนังสือสำรอง





บริการหนังสือสำรอง 
          บริการหนังสือสำรอง นั้นเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรสารสนเทศประเภท
การเรียนการสอน ดังนั้นบริการนี้เหมาะสำหรับอาจารย์และผู้สอน บริการหนังสือสำรอง
จึงมีการจัดให้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ง่าย และทรัพยากรสารสนเทศนั้นจัดให้
พร้อมใช้งานเสมอ เมื่อผู้ใช้ต้องการ จึงทำให้บริการหนังสือสำรองจะมีการเปลี่ยนแปลง
ทรัพยากรสารสนเทศบ่อยครั้ง บริการนี้มีการใช้กันมากในสถาบันห้องสมุดอุดมศึกษา 
ซึ่งบริการนี้จะเป้นบริการที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ขอใช้บริการ
อีกทั้งการบริการหนังสือสำรองมักจะมีระยะเวลาในการให้ยืมที่สั้น

ปรัชญาของหนังสือสำรอง
 - เน้นในการส่งเสริมการเรียนการสอน
 - มีสารสนเทศที่หลากหลายและมีบริการสารสนเทศสำหรับผู้ใช้เมื่อต้องการ


ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการยืม 
1. ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
2. ทรัพยากรสารสนเทศส่วนบุคคล
3. ซีดี (CD)
4. บทความ
5. บริการรูปภาพ PowerPoint presentation จากหนังสือหรือเว็บไซต์ให้แก่ผู้ใช้ 
6. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์ จะติดที่เรื่องลิขสิทธิ์ทำให้ทางห้องสมุด
จะมีระบบป้องกันการดาวน์โหลดหรือ คัดลอกข้อมูลต่างๆไว้ด้วย

ความสำคัญของบริการสำรองหนังสือ 
- มีบทบาทในการสนับสนุนการเรียนการสอน
- นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน
- สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างบรรณารักษ์และผู้สอน
- คุณภาพของการบริการ



งานที่ปฏิบัติของการบริการหนังสือสำรอง
1. รับใบขอใช้บริการ รับเอกสาร
 - จัดทำสำเนาหรือสแกนเอกสาร
 - ทำการเข้าเล่ม
 - จัดการระเบียบเอกสาร เช่น การจัดระบบตามหมวดหมู่ หรือจัดทำให้ผู้ใช้สามารถหยิบ
ใช้ได้ง่าย ห้องสมุดส่วนมากจะนิยมเรียงตามชื่อกระบวนวิชา ชื่อของผู้สอนซึ่งจะทำให้
ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศได้ง่ายขึ้น หรือมีการกำหนดหมายเลขไว้
2. ทำบัตรยืม
 - จัดเก็บค่าปรับหากผู้ใช้ยืมหนังสือไปเกินเวลาที่กำหนด ตามระเบียบที่กำหนดไว้
 - ดูแลรักษาความลักษณะจองเอกสารให้คงรูปแบบเดิม และดูแลความปลอดภัยของ
ทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ
 - ต้องกำหนดระยะเวลาและระเบียบในการยืม 
 - มีการจ่ายค่าปรับต่างๆ เช่น การคืน ย้ายเอกสารและการจัดเก็บเอกสาร
 - บริการที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน สำหรับดำเนินงานบริการยืมคืน
 - จัดเก็บสถิติทุกครั้ง 



แนวโน้มการให้บริการในอนาคต
- ในเรื่องของการให้บริการอาจจะมีการให้บริการในส่วนของเอกสารในรูปแบบดิจิทัล
ที่สามารถถ่ายโอนได้  มีการแสดงรายการบน OPAC เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น
- มีการจัดทำในรูปแบบออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ
เข้าถึงสารสนเทศได้ทันทีเมื่อมีความต้องการ
- ป้องกันสิทธิของผู้ใช้ และมีการจัด password protected เพื่อป้องการข้อมูลของผู้ใช้บริการ
และป้องกันการละเมิดสิทธิ์
- คณาจารย์สามารถเสนอเอกสารบนเว็บเพจของตนเองได้

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งของงานบริการยืม
ระหว่างห้องสมุดที่จัดทำการยืมทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดหรือสถาบันต่างๆ 
โดยการจัดทำการยืมทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดหรือสถาบันต่างๆ ให้กับผู้ที่
มาขอใช้บริการ และเพื่อให้มีการดำเนินงานระหว่างห้องสมุดร่วมกัน จึงมีการจำทำ
ข้อตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุดหรือสถาบันเพื่อการพัฒนาการบริการยืมระหว่าง
ห้องสมุดให้เป็นไปตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นร่วมกันจึงมีขั้นตอนดังนี้ 




1. การจัดทำคู่มือ 
เป็นการจัดทำเพื่อให้แต่ละห้องสมุดหรือสถาบันต่างๆ เข้าใจถึงหลักการและ
ข้อปฏิบัติในการใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน
2. กำหนดมาตราฐานร่วมกันระหว่างสถาบันหรือห้องสมุด 
มีการกำหนดมาตรฐานกับห้องสมุดเครือข่ายร่วมกัน ให้มีแบบแผนเดียวกัน
เพื่อความสะดวก และรวดเร็วสำหรับผู้ที่มาใช้บริการ
3.กำหนดรูปแบบการดำเนินงานการประสานงาน
          การกำหนดให้มีนโยบายในการดำเนินงานการประสานงานนั้นจะช่วยให้ การดำเนิน
งานมีประสิทธิภาพและช่วยให้เกิดความผิดพลาด ข้อผิดพลาดลดลง


การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด มีดังนี้
1. การดำเนินงานด้วยระบบมือ (Non-Automated ILL)

เป็นการดำเนินงานด้วยตัวบุคคลโดยการติดต่อทางไปรษณีย์ อีเมล หรือโทรศัพท์ 
ซึ่งจะมีการกรอกแบบฟอร์มเพื่อยืนยันในการติดต่อขอรับบริการยืมระหว่างห้องสมุด
ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีหลายขั้นตอนที่ซับซ้อน จึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้
หรือเกิดความผิดพลาดในการทำงานขึ้นได้ ดังนั้นทางห้องสมุดควรที่จะ


- จัดให้มีระบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อการปฏิบัติงานที่ตรงกันในเครือข่ายของห้องสมุด
และทำให้ผู้ที่มาขอรับบริการไม่เกิดความสับสน อีกทั้งยังช่วยผู้ใช้ในการอ้างอิงทรัพยากร
สารสนเทศและการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการได้ง่ายยิ่งขึ้น
- การใช้แบบฟอร์ม (Manual request) ที่เป็นแบบเดียวกันเพื่อให้ห้องสมุดหรือสถาบันได้รับ
ข้อมูลที่ครบถ้วน และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกและ
รวดเร็วยิ่งขึ้นในการขอรับบริการยืมระหว่างสถาบัน 
2. การดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ (Automated ILL)

          เป็นการดำเนินงานผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งง่ายต่อการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
ของผู้ใช้อีกทั้งยังให้ความสะดวกและรวดเร็วมรการบริการมากกว่าการดำเนินงานด้วยระบบมือ



- สามารถค้นในฐานข้อมูลท้องถิ่นไปจนถึงระดับนานาชาติได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก
และง่ายต่อการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้เร็วยิ่งขึ้น

- สามารถยืมสารสนเทศผ่านทางเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต (Interlibrary Loan SW-ILL SW) ซึ่งทำ
ให้ทราบว่าทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการอยู่ที่ห้องสมุดใดบ้าง อีกทั้งยังง่ายต่อการยืมระหว่าง
ห้องสมุดเพราะสามารถเลือกห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการที่ใกล้ที่สุดได้ ซึ่งจะ
ทำให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรอย่างรวดเร็วและประหยัดเวลาของผู้ใช้อีกด้วย



การคิดค่าบริการ

            ทางสถาบันจะมีการคิดค่าบริการเพื่อให้ผู้ใช้บริการมารับรายการที่ทำการยืมไว้ ซึ่งจะ
ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าทางสถาบันจะทำการดำเนินการรายการที่ยืมไว้อย่างแน่นอน และทาง
สถาบันจะจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่เกิดการสูญหาย




ข้อคำนึงด้านจริยธรรมและกฎหมาย
การยืมระหว่างสถาบันจำเป็นต้องคำนึงถึงกฎหมายลิขสิทธิ์เนื่องจากการทำการยืม
ทรัพยากรสารสนเทศระหว่างสถาบันนั้นจะมีการทำสำเนาบทความจากหนังสือ หรือทรัพยากร
อื่นๆ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้นทางสถาบันควรจะมีการขออนุญาตเจ้า
ของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของผลงานก่อน เพื่อป้องกันผู้ใช้คนอื่นๆละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์



วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน Inter Library Loan (ILL)





บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน หรือ Inter Library Loan (ILL) 
     เป็นส่วนหนึ่งของงานบริการห้องสมุดที่ทางห้องสมุดจะจัดทำขึ้นเพื่อ
อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ เกี่ยวกับการบริการทรัพยากรสารสนเทศ
เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศมีมากมาย ซึ่งในแต่ละห้องสมุดไม่สามารถ
มีทรัพยากรสารสนเทศครบ จึงเกิดข้อตกลงต่างๆร่วมกันในแต่ละห้องสมุด
เพื่อให้ผู้ใช้สามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศจากแหล่งอื่น หรือจากห้องสมุดอื่น
ทั้งห้องสมุดภายในประเทศและห้องสมุดต่างประเทศ รูปแบบในการยืม
ทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดต่างประเทศนั้นจะเป็นฐานข้อมูล 
ถ้าหากเป็นห้องสมุดภายในประเทศจะสามารถยืม หนังสือ หรือ อุปกรณ์ 
วัสดุ อื่นๆได้ ซึ่งบริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบันนี้จะต้องปฏิบัติตาม
กฎระเบียบของห้องสมุดอื่นๆ อย่างเคร่งครัด งาน ILL ประกอบด้วย  
การขอยืม (Borrowing) และ การให้ยืม (Lending)

ประโยชน์ของบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1. ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าทรัพยากร
สารสนเทศนั้นอยู่ที่ห้องสมุดใดหรือจัดเก็บไว้ที่สถานที่ใดก็ตาม
2.ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้เพราะผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปหา
ทรัพยากรสารสนเทศเอง แต่บริการนี้จะจัดการให้ทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ นั้น
เดินทางมาหาผู้ใช้และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

ความสำคัญของบริการ ILL
1. เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
- ลดปัญหาของการมีทรัพยากรสารสนเทศไม่เพียงพอ
- เกิดความเท่าเทียมกันในด้านของการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
2. ลดข้อจำกัดด้านระยะทางของผู้ที่ใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึง
ทรัพยากรสารสนเทศได้ง่ายและไม่ต้องเดินทางไปหาทรัพยากรสารสนเทศ
3. ใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างคุ้มค่า
4. ประหยัดงบประมานการสั่งซื้อทรัพยากรสารสนเทศ และการสั่งซื้อซ้ำซ้อน
5. เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่หายากซึ่งมีเพียงบางสถาบันเท่านั้น 
6. สร้างความเข้มแข็งในการจัดการในกลุ่มเครือข่ายห้องสมุด
7. สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับห้องสมุด

ปรัชญาของการบริการ ILL
- ทรัพยากรสารสนเทศมีจำนวนมากไม่มีห้องสมุดไหนที่จะมีทรัพยากรสารสนเทศ
บริการผู้ใช้ได้ครบทั้งหมด
- ความร่วมมือของสถาบันหรือห้องสมุดต่างๆ เป็นพื้นฐานในการให้บริการ ILL
- ความต้องการของผู้ที่มาใช้บริการเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับสถาบันหรือห้องสมุด 
การบริการทรัพยากรสารสนเทศให้ผู้ใช้บริการพึงพอใจจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด

องค์ประกอบการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
ต้องมีการติดต่อสื่อสารไปยังห้องสมุดที่จะมาเข้ารวมการยืมระหว่างห้องสมุด 
เพื่อเป็นการขยายของฐานทรัพยากรสารสนเทศ และเป็นการกระจายทรัพยากร
สารสนเทศ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยกรสารสนเทศได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย
2. สร้างข้อตกลงความร่วมมือในการบริการร่วมกัน  
เพื่อที่จะทำให้การปฏิบัติงานชัดเจน ทำให้การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
ในการยืมระหว่างห้องสมุดร่วมกัน
3. มีแบบฟอร์มประกอบการยืมคืนระหว่างห้องสมุด 
ต้องมีการกรอกแบบฟอร์มประกอบการยืมคืนระหว่างห้องสมุด เพื่อที่จะใช้ใน
การยืมคืนระหว่างห้องสมุดจะได้เป็นแบบเดียวกัน
4. การเป็นสมาชิกของเครือข่ายความร่วมมือ
การเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือจะทำให้มีทรัพยากรสารสนเทศ
จำนวนมากขึ้น และมีความหลากหลาย อีกทั้งยังทำให้ผู้ใช้ได้ทรัพยากรสารสนเทศ
ที่ต้องการมากขึ้นด้วย