วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ค่าปรับในการยืม-คืน

ค่าปรับในการยืม-คืน

        การยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศในแต่ละห้องสมุด จะมีการกำหนดวันเวลา
ที่สามารถใช้ในการยืม-คืน และมีกฏระเบียบในการยืม-คืนที่ต่างกันในห้องสมุด
แต่ละแห่ง เช่น การสมัครสมาชิก ระยะเวลาในการยืมทรัพยากรสารสนเทศ
จำนวนในการยืมทรัพยากรสารสนเทศ หากผู้ใช้บริการได้ทำการยืน-คืน ทรัพยากร
สารสนเทศขึ้นทำให้มีโอกาสที่ผู้ใช้บริการจะส่งคืนเกินกำหนดระยะเวลาที่ทาง
ห้องสมุดกำหนดไว้ หรือ ทำให้ทรัพยากรนั้นมีความเสียหายสูญหายไป ทำให้
ทางห้องสมุดแต่ละก้องจะต้องกำหนดค่าใช้จ่ายสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ
ทรัพยากรทุกชิ้นของห้องสมุด

http://www.bloggang.com/data/passepartout/picture/1214834491.jpg

การกำหนดค่าปรับ

การกำหนดการจ่ายค่าปรับนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสถาบันหรือห้องสมุด
ว่าได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับการจ่ายค่าปรับอย่างไร

1.เมื่อถึงกำหนดการจ่ายค่าปรับนั้น สถาบันหรือห้องสมุดจะต้องมีการแจ้งเตือน
ผู้ใช้ล่วงหน้า เพื่อช่วยเตือนผู้ใช้นำทรัพยากรสารสนเทศมาคืนตามกำหนดเวลาและ
เพื่อป้องกันความผิดพลาด เกี่ยวกับวันและเวลาที่ต้องส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศ
2.ทรัพยากรสารสนเทศจะมีระยะเวลาในการยืมที่แตกต่างกัน ตามแต่นโยบายของ
สถาบันนั้นๆ และตามลักษณะของทรัพยากรสารสนเทศ หากเป็นทรัพยากรสารสนเทศ
ที่ยืมได้ในระยะเวลาสั้น จะมีค่าปรับที่ราคาสูงกว่าทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมได้
นานวันกว่า

http://www.bloggang.com/data/passepartout/picture/1214836798.jpg

การจ่ายค่าปรับให้กับห้องสมุด

1.จ่ายที่เคาร์เตอร์บริการยืม - คืน
2.จ่ายผ่านระบบอัตโนมัติ (Automated systems automatically calculatefines)
3.บางห้องสมุดเปิดให้มีการผ่อนผันการต่อรองระหว่างผู้ยืมและเจ้าหน้าที่
4.สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัย ค่าปรับจะต้องนำส่งมหาวิทยาลัย

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืม-คืน (Circulation Service)


บริการยืม-คืน     เป็นบริการที่สำคัญระดับแรกของบริการห้องสมุด เนื่องจากบริการยืม-คืน
เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศภายใน
ห้องสมุดได้อย่างเต็มที่ และบริการยืม-คืนยังอำนวยความสะดวกได้ตามความต้องการ
ของผู้ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดอีกด้วย

บทบาทหน้าที่ การยืม-คืน

1. การควบคุมงานบริการยืม-คืน     ต้องมีการควบคุมบริการให้ดี เพื่อลด
ความผิดพลาด และมีความรวดเร็วในการยืม-คืน
2. ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด     การบริการเป็นส่วนสำคัญ เพราะจุดประชาสัมพันธ์
ของห้องสมุดเป็นสถานที่แรกที่จะเจอที่ผู้ใช้จะเข้ามารับบริการ จึงต้องมีการบริหาร
ในการยืม-คืนให้ดีให้ผู้ใช้เกิด ความประทับใจ และกลับมาใช้บริการอีก


การจัดการ

1. ห้องสมุดขนาดเล็ก     ห้องสมุดที่มีผู้มาใช้บริการไม่มาก จะมีการจัดระบบ
การดำเนินงานโดยมีบรรณารักษ์ เลือกและจัดพนักงาน ตามนโยบาย
และขั้นตอน บรรณารักษ์เป็นผู้กำกับดูแลการทำงานของพนักงาน
2. ห้องสมุดขนาดกลาง     เป็นห้องสมุดที่มีจำนวนผู้มาใช้บริการมากกว่า
ห้องสมุดขนาดเล็ก โดยมีการจัดการระบบการดำเนินงานโดยมีหัวหน้าแผนก
เป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบบรรณารักษ์
3. ห้องสมุดขนาดใหญ่    ห้องสมุดขนาดใหญ่มีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก 
จึงมีการจัดการดำเนินงานโดยมีหัวหน้าออกคำสั่งให้กับหัวหน้าหน่วยหรือผู้ช่วย
บรรณารักษ์ จะเป็นตัวแทนในการจัดการพนักงาน เพื่อที่ให้บริการประชาชน
และหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง

ความรู้และทักษะที่ต้องการ

1. มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นมิตรกับทุกคน
2. มีไหวพริบ และมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
3. มีใจรักในบริการ และมีความอดทนสูง
4. มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศที่ภายในห้องสมุดมีไว้บริการ
5. มีทักษะการใช้ คอมพิวเตอร์ และฐานข้อมูล OPAC



เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในบริการยืม - คืน

  • ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้นทำให้จึงทำให้เกิด
การยืม-คืนที่สะดวกกับผู้ใช้มากขึ้น เช่น ระบบงานยืม-คืนอัตโนมัติ 

ระบบงานยืม-คืนอัตโนมัติ คือ การยืมคืนอัตโนมัติเป็นระบบที่ทำให้การยืน-คืน
ทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ มีการดำเนินงานที่รวดเร็วขึ้น เป็นระเบียบและมี
ความผิดพลาดน้อยลง เราสามารถตรวจเช็คข้อมูลขอผู้ใช้ได้ด้วยว่า 
พฤติกรรมของผู้ใช้นั้นเป็นแบบไหน และประวัติการยืม-คืนเป็นอย่างไร 
เมื่อมีข้อมูลเป็นจำนวนมากพอ ทำให้ในการจัดการห้องสมุดเป็นไปตรงตาม
ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและนโยบายของห้องสมุดนั้นๆ

1.เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode)     




สัญญลักษณ์รหัสแท่งที่ใช้แทนข้อมูลตัวเลขมีลักษณะเป็นแถบมีความหนาบาง
แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่


2.คิวอาร์โค๊ด (QR Code, 2D Barcode)     




QR Code หรือ 2D Barcode เป็นรูปแบบหนึ่งของเทคโนโลยีรหัสแท่ง 
(Barcode technology) โดยพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีรหัสแท่งแบบเดิม 


3.เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identify - RFID)     




เป็นเทคโนโลยีที่นำคลื่นวิทยุ มาระบุถึงลักษณะของวัตถุต่างๆที่ติด RFID 
ยังสามารถอ่านข้อมูลและเขียนข้อมูลลงไปยัง tag ได้ อีกทั้งยังสามารถใส่ข้อมูลอื่น
ลงไปได้ เช่น ลักษณะของสิ่งของ ,สถานที่ ,วันเดือนปีที่ผลิต การอ่านข้อมลูลของ 
RFID ไม่ต้องอาศัยการสัมผัส ไม่ต้องมองเห็น ทนต่อความชื้น และสามารถอ่านค่า
ในขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ ยังเป็นระบบอัตโนมัติอีกด้วย เมื่อเราเปรียบเทียบดูแล้ว 
RFID จะมาแทนที่ของ Barcode เทคโนโลยีดังกล่าวนี้สามารถทำให้ระบบการยืม-คืน 
ทรัพยากรสารสนเทศ มีความรวดเร็ว ,สะดวก และยังบอกรายละเอียดชัดเจน 
และสามารถป้องกันการสูญหาย ของทรัพากรสารสนเทศต่างๆได้เป็นอย่างดี

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Library Building & Spaces

ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่บริการทรัพยากรสารสนเทศให้กับผู้มาใช้บริการ 
จึงจะต้องอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการ
ทั้งภายในและภายนอกเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้มาใช้บริการ 
อีกทั้งการที่ห้องสมุดมีรูปลักษณ์ที่แปลกตาไม่เหมือนกับห้องสมุดอื่น
จะสามารถเพิ่มความสนใจกับผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น

การสร้างสรรค์ปัจจัยต่างๆของห้องสมุด

National Library in Astana, Kazakhstan.

- อาคาร     การตกแต่งรูปลักษณ์อาคารเพื่อดึงดูดความสนใจให้ผู้บริการอยากเข้ามา
ใช้บริการทำได้โดยการออกแบบอาคารให้มีลักษณะทันสมัย และผ่อนคลาย
เมื่อมองมาจากภายนอก การที่ทำให้สถานที่ดูผ่อนคลายนั้นจะช่วยให้ผู้ที่มาใช้บริการ
อยากเข้ามาใช้บริการ เพราะเนื่องจากห้องสมุดส่วนมากจะมีอาคารลักษณะภายนอก
ที่ดูเคร่งเครียดเป็นตึกรูปลักษณ์ธรรมดาไม่ทันสมัย



- ภายในอาคาร     การจัดรูปแบบภายในอาคารอาจจัดทำในรูปแบบใหม่ เช่น ชั้นวาง
หนังสืออาจทำให้เกิดลักษณะที่ไม่ใช่แค่ชั้นวางหนังสือแบบเดิมๆ แต่ออกแบบมา
เพื่อเพิ่มสีสันภายในห้องสมุดซึ่งจะทำให้ผู้มาใช้บริการเกิดความสร้างสรรค์และ
จินตานาการในการใช้บริการ การออกแบบมุมต่างๆภายในห้องสมุด เก้าอี้ โต๊ะ
ที่เหมาะสมสำหรับผู้มาใช้บริการ และสร้างความทันสมัยให้กับห้องสมุด


ห้องสมุด Amphitheatre

- แสงสว่าง     การจัดแสงสว่างภายในห้องสมุด ควรจัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ
แต่ไม่มากเกินไป เพราะ การจัดแสงสว่างที่มากจนเกินไปจะทำให้เกิดความร้อนและ
เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติอีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ควรจะใช้
แสงสว่างจากภายนอกซึ่งเป็นแสงสว่างจากธรรมชาติ การใช้สีของหลอดไฟก็
เป็นส่วนหนึ่งในการจัดแสงสว่างภายในอาคาร ซึ่งควรจะจัดแสงสว่างให้เหมาะสม


http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2009/06/food-in-library.png

- ป้าย สัญลักษณ์     ป้าย สัญลักษณ์ต่างๆ ภายในห้องสมุดเป็นการระบุรายละเอียด
ต่างๆ ของห้องสมุด บอกตำแหน่งที่ตั้งของทรัพยากรสารสนเทศหรือ อื่นๆ การมีป้าย
ที่ชัดเจนจะสามารถทำให้ผู้ใช้เข้าใจในระเบียบของการใช้ห้องสมุดมากขึ้น อีกทั้งยัง
ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดอีกด้วย




- เฟอร์นิเจอร์     เฟอร์นิเจอร์ภายในห้องสมุดจะต้องมีความทันสมัยและสะดวกสบาย
ในการใช้เนื่องจากผู้ใช้ห้องสมุดจะเข้ามาใช้เป็นเวลานานจึงต้องมีความสบายและ
มีสีสันที่ทันสมัยรูปร่างที่แปลกตาเพื่อให้ผู้ใช้เกิดความเพลิดเพลิน และรู้สึกผ่อนคลาย
เมื่อเข้ามาใช้บริการในห้องสมุด


http://www.pps.k12.or.us/schools/creston/files/school-creston/Macbook_Wireless_lab.jpg


- อุปกรณ์     อุปกรณ์ต่างๆที่ควรนำมาบริการภายในห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้บริการ
ทรัพยากรสารสนเทศได้สะดวกและครบถ้วน เมื่อต้องการค้นหาในสารสนเทศที่ต้องการ
อุปกรณ์ที่ควรนำมาบริการ ได้แก่ Smart Board, Intelligence Board,wireless lab cart,Book binder,Digital Microfilm Scanning,Shelves reader เป็นต้น