วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การสัมมนาเรื่องสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA)

Library Trend - IFLA , ALA, UNESCO
ปัจจุบันมีการพัฒนาความรู้ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดทำให้ทางห้องสมุดจะต้องมีการพัฒนา
และการเปลี่ยนแปลงการบริการในด้านต่างๆ ภายในห้องสมุดให้มีความทันสมัยกับโลก
ในยุคปัจจุบันซึ่งการพัฒนาให้ห้องสมุดมีการบริการที่ทันสมัยที่สะดวกสบายรวดเร็วกับ
ความต้องการของผู้ใช้และทันตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะช่วยให้ผู้ใช้มีความ
สนใจและเข้ามาใช้บริการจากทางห้องสมุดมากยิ่งขึ้น



 New Services : การบริการใหม่ๆที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน

1. Cloud computing  เป็นระบบคอมพิวเตอร์หรือเครื่องที่ใช้ในการให้บริการต่างๆ เช่น
- Facebook
- Gmail
- Meebo
- Other social network
แยกตามกลุ่มผู้ใช้
1. Cloud ระดับองค์กร เช่น Cloud Library
2. Cloud ระดับบุคคล มีการให้บริการ เช่น Gmail , Facebook , Meebo
3. Cloud แบบผสม เช่น Dropbox
แยกตามการให้บริการ
1. Public Cloud เป็น Could ที่ใช้แบบสาธารณะ เช่น Facebook, Gmail
2. Private Cloud เป็น Could แบบส่วนตัว
3. Hybrid Cloud บริการในทุกระดับ
แยกตามประเภทเทคโนโลยี
1. Saas : Software as a service เช่น
- www.zoho.com
- doc.google.com
- Facebook
2. Iaas : Infrastruture as a service
3. Paas : Platform as a service

2. Mobile Device  จะต้องรู้จักกลุ่มผู้ใช้และพฤติกรรมการใช้ของผู้ใช้ ซึ่งสามารถดู
ได้จากสถิติ เช่น Truehits.net และปัจจุบันมีการแบ่ง Mobile ออกเป็น 4 ประเภท
- Smart phone Java , Debian
- Tablet Android
- e Reader ios , iPad
- Netbook ใช้กับ Microsoft Windows

3. Digital Content and Publishing eBook , IR , Digital Library , OJS 
ได้รับกระแสและอิทธิพลมาจากการเปลี่ยนแปลงในการผลิต Digital Content ต่างๆ ทั้ง
ที่เป็นในรูปแบบของ บทความ วารสาร ฐานข้อมูลต่างๆ eBook ใน Format ต่างๆ เช่น 
File pdf. ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบ Digital Content Online สามารถใช้งานด้วย
เครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านระบบเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถดูตัวอย่างได้
จาก ag-ebook.lib.ku.ac.th
กระบวนการขั้นตอนของการจัดทำ ebook
1. การได้มาของเนื้อหา 
2. กระบวนการผลิตและรูปแบบ
3. ลิขสิทธิ์ ต้นฉบับและการเผยแพร่
    - ลิขสิทธิ์ของต้นฉบับ
    - ลิขสิทธิ์ของการเผยแพร่ 




4. Crosswalk Metadata เป็นลักษณะของการข้ามผ่านจากข้อมูลชุดหนึ่งไปยังข้อมูลอีก
ชุดหนึ่ง หรือเป็นการผสมรวมกันระหว่าง metadata มากกว่า 1 รูปแบบ เช่น
- MARC 
- MARCML
- Dublin Core 
- ISDA (g)
- CDWA 
- RDF 
- EXIF (เป็นมาตรฐานของรูปภาพดิจิทอล)
- XMP (เป็นมาตรฐานของรูปภาพดิจิทอล) 
- IPTC (เป็นมาตรฐานของรูปภาพดิจิทอล)
- OWL 
- MODS
- METS 
- PDF 
- DOC Metadata 



5. Open Technology  ได้แก่
1. Z39.5 : เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ
2. Z39.88 : เป็นโปรแกรมที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ช่วยในการ
ให้ข้อมูลบรรณานุกรมและการอ้างอิงแหล่งที่มาของทรัพยากรสารสนเทศ 
3. OAI - PMH : เป็นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันนี้ สามารถให้รายละเอียด
และข้อมูลทางบรรณานุกรมได้ โดยเน้นแนวหลัก คือ การทำ One search (ช่องสืบค้นที่
สามารถได้รายละเอียดและข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่มาให้การค้นเพียงครั้งเดียว) 
และในส่วนของคำสำคัญ หรือ keyword ก็สามารถที่จะนำมาใช้ใน Link Data ได้อีกด้วย
ตัวอย่างเช่น ช่องสืบค้นจาก tnrr.in.th


6. Data & Information Mining/ Visualization  การค้นหาข้อมูลแต่ละครั้งจะต้องทำ
ดังต่อไปนี้
1. Search
2. ทำการวิเคราะห์
3. แสดงผลเป็นเส้นโยงความสัมพันธ์
การใช้ Visual ที่ใช้ร่วมกับงานห้องสมุด
- Vadl.cc.gatech.edu/
- labs.ideeinc.com/visaul
- labs.ideeinc.com/multicolour
- www.krazydad.com/colrpickr/

7. Green Libary เนื่องจากในปัจจุบันผู้คนให้ความตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็น
จำนวนมากซึ่งเป็นผลกระทบและอิทธิพลจาก Global warming ทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจ
และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรวมไปถึงสภาพพื้นที่สีเขียวของโลก
-  Green Building
-  Green ICT 


บริการข่าวสารทันสมัย CAS

บริการข่าวสารทันสมัย CAS (Current Awareness Services)
            เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้ทราบข้อเท็จจริง ข่าวสาร ความก้าวหน้าใหม่ๆ
ในสาขาที่เกี่ยวข้องหรือ ในสาขาที่ผู้ใช้บริการห้องสมุดมีความสนใจ ซึ่งจะได้รับข้อมูล
อย่างรวดเร็วด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดทำรายชื่อทรัพยากรสารนิเทศใหม่ การหมุนเวียน
วารสารฉบับปัจจุบันให้แก่ผู้ใช้  หรือการถ่ายสำเนาหน้าสารบัญวารสารฉบับล่าสุดออก
เผยแพร่แก่ผู้ใช้เพื่อเลือกอ่านบทความที่ต้องการหรือสนใจ




CAS อาจเรียกอีกอย่างว่า 
- Selective dissemination of information services (SDI) : จัดเป็นส่วนหนึ่งในบริการ
CAR เป็นบริการที่จะทำตามคำขอของผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นบริการเฉพาะบุคคลที่หาก
หมดความต้องการของผู้ใช้บริการแล้วก็จะทำการงดหรือยกเลิกการให้บริการนี้
- Current alerting services Individual article supply (CAR) : เป็นบริการที่จะแจ้งให้ผู้ใช้
ทราบถึงข้อสนเทศใหม่ๆ ตามความสนใจของผู้ใช้ทันทีที่สถาบันฯนั้นได้รับทรัพยากร
สารสนเทศ ดังกล่าวมา ซึ่งอาจได้รับมาในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น รูปแบบสิ่งพิมพ์
หรือรูปแบบของสื่อสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์/สื่อประสม
- Alerting services/Alerts : บริการที่จะแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงข้อสนเทศใหม่ๆ ตามความสนใจ
ของผู้ใช้ทันที


ปรัชญาของการบริการ
   เอกสารที่ต้องการสำหรับบุคคลที่ใช่ในเวลาที่ทัน คือ การจัดการเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการ
ได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้และ ทำให้ผู้ใช้ได้รับเอกสารดังกล่าวทันทีหรือในเวลา
ที่ที่ผู้ใช้ต้องการ


วัตถุประสงค์ในการให้บริการ
   จะต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ทันสมัย
และตรงต่อความต้องการอย่างรวดเร็ว และเปิดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
เพื่อช่วยประหยัดเวลาสำหรับผู้ใช้ให้มากที่สุด




รูปแบบการบริการ CAS 
1. รูปแบบเดิม : จะมีการเวียนเอกสารหรือจัดส่งโดยตรง
- สำเนาหน้าปก สำเนาสารบาญ หรือ หน้าแรกของบทความหรือสาระสังเขป
- ตัดข่าวหนังสือพิมพ์ส่งหรือสรุปข่าว
- นำเสนอจดหมายข่าว NewsLetter โดยจะมีการแจ้งเตือนข่าวสารใหม่ๆ ที่ห้องสมุดบอก
รับเนื่องจากงาน CAS ในรูปแบบเดิมใช้เวลาในการจัดทำมาก ในปัจจุบันจึงเริ่มมีการนำ
เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการให้บริการเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการให้
บริการ และเพิ่มความรวดเร็วในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
2. ผู้ค้าฐานข้อมูลเริ่มจัดทำบริการเสริมการใช้ฐานข้อมูล เช่น
- Injenta จะให้บริการในการส่งบทความใหม่ๆ ทุกอาทิตย์ในหัวข้อที่ผู้ใช้บริการมีความ
สนใจโดยจะมีการแจ้งให้ผู้ใช้ทราบทาง e-mail
- Emerald มีการจัดทำบริการจดหมายข่าว TOC และแจ้งบทความใหม่ในเรื่องหรือหัวข้อ
ที่ผู้ใช้กำหนด ซึ่งจะแจ้งให้ทราบทาง e-mail
- Google จัดบริการ Alert โดยจะแจ้งบทความใหม่ในเรื่องหรือหัวข้อที่ผู้ใช้กำหนด
แจ้งให้ผู้ใช้ทราบทาง e-mail เช่นกัน


การเวียนเอกสารแบบเดิม จัดทำได้ 3 วิธี
1)  ส่งโดยตรงจากผู้ใช้ต่อๆกันไป และจะต้องส่งกลับมายังสถาบันบริการเมื่อผู้ใช้คน
สุดท้ายใช้เสร็จแล้ว
2)  แบ่งผู้ใช้ออกเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยจัดกลุ่มผู้ใช้ตามที่อยู่ เมื่อเวียนใช้เอกสารภายใน
กลุ่มเสร็จแล้วก็จัดส่งคืนให้สถาบันบริการสารสนเทศ แล้วจึงจังส่งไปยังกลุ่มอื่นต่อไป
3)  จัดส่งโดยตรงไปยังผู้ใช้แต่ละคน โดยให้ผู้ใช้ส่งกลับมาที่สถาบันบริการสารสนเทศ
ทุกครั้งเมื่อใช้เสร็เพื่อทางสถาบันจะได้จัดส่งให้ผู้ใช้คนต่อไป



ข้อควรปฏิบัติในการเวียนเอกสาร 
1.ไม่ควรจัดบริการนี้แก่สมาชิกใหม่ จนกว่าจะแน่ใจว่าเป็นบริการที่สมาชิกต้องการจริงๆ
เพราะเป็นการทำให้เสียเวลาในการบริการเอกสารให้กับผู้ใช้ที่ต้องการคนอื่นๆ จึงต้องแน่ใจ
จริงๆว่าสมาชิกใหม่ต้องการใช้
2.ไปเยี่ยมผู้ใช้เป็นครั้งคราว เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้ส่งเอกสารที่นำไปหมุนเวียนเร็วขึ้น
3.จัดลำดับให้ผู้ใช้ได้รับเอกสารก่อนหลังสลับกันบ้าง เพื่อความเสมอภาคในการได้รับ
สารสนเทศอย่างเท่าเทียมกัน

ข้อดีของการเวียนวารสาร 
-  เป็นการกระจายสารสนเทศไปสู่ผู้ใช้ที่แน่นอน ทั้งผู้ใช้บริการที่อยู่ห่างไกล และผู้ที่ไม่
สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ตนเองต้องการได้อย่างเป็นประจำ
-  เป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ใช้ได้เห็นเนื้อหาของเอกสารประเภทต่างๆที่มีจัดไว้ให้บริการ

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บริการสอนการใช้

บริการสอนการใช้
          บริการการสอนใช้ นั้นจะมีเจ้าหน้าที่หรือบรรณารักษ์ของห้องสมุดจะเป็นผู้ให้บริการ 
เพื่อสอนทักษะใน การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้
ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) และยังทำให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้ด้วยตัวของ
เขาเอง เมื่อผู้ใช้มีทักษะแล้ว ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่ผู้ใช้ต้อง
ได้มากมาย และยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาความรู้ความสามารถต่างๆ และยังทำให้
เกิดแห่งความรู้ใหม่ ,สังคมการเรียนรู้ และเครือข่ายการเรียนรู้ ซึ่งในปัจจุบันมีการเปลี่ยน
แปลงตลอดเวลา 


องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
1. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ
2. การเข้าถึงสารสนเทศ 
3. การประเมินสารสนเทศ
4. ความสามารถในการนำเสนอสารสนเทศ
5. ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ

ลักษณะในการจัดบริการ 
บริการสอนการใช้ห้องสมุดจะมีการจัดบริการที่แบ่งออกเป็น 2 แบบ
1. บริการเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction)
2. บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)

การสอนเรื่องการรู้สารสนเทศ
ปัจจุบันการสอนเรื่อง การรู้สารสนเทศ มีการสอนตั้งแต่ระดับปฐมศึกษา,มัธยมศึกษา 
และอุดมศึกษา ซึ่งมีหลักสูตรต่างกัน ตามหลักสูตรของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้
กับผู้ศึกษาในอนาคต และทำให้ผู้ใช้ เกิดการแสวงหาข้อมูลสารสนเทศด้วยตัวของ
เขาเอง เมื่อต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมทางสถาบันต่างก็มีการจัด
1 การสอนเป็นรายวิชาอิสระ
2 บทเรียนแบบออนไลน์
3 สมุดแบบฝึกหัด เช่น การทำสมุดคู่มือและแบบฝึกหัดการรู้สารสนเทศ
4 การสอนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
5 การสอนแบบบูรณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร ขึ้นมาเพื่อผู้ที่สนใจและเป็นประโยชน์
ต่อไปในอนาคต




ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
  การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก 
เพราะการรู้สารสนเทศจะสามารถนำไปต้อยอดความรู้ในเรื่องต่างๆ ได้ และผู้ใช้
สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถของมนุษย์ให้มี
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ มีวิจารณญาณ และความสามารถ
ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการนำส่งเอกสาร

บริการนำส่งเอกสาร 
         บริการในการจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ รวมถึง
สิ่งพิมพ์ที่ยังไม่ได้เผยแพร่จัดส่งในรูปแบบกระดาษหรือวัสดุย่อส่วนหรือเอกสาร
อิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการคิดค่าบริการส่งสำหรับผู้ขอ
รับบริการด้วย อีกทั้งผู้บริการนำส่งจะต้องทราบเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ และการ
เสียค่าลิขสิทธิ์ด้วย



ปรัชญาของการบริการ
  • ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถมีทรัพยากรสารสนเทศครบตามที่ผู้ใช้ต้องการ
  • เพื่อตอบความต้องการผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง อีกทั้งยังบริการ
ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
  • แก้ปัญหาการบริการ  ไฟไหม้ น้ำท่วม หาย
  • เพิ่มศักยภาพในการบริการให้กับห้องสมุดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้

วัตถุประสงค์ของการบริการ
           เพื่อการให้บริการผู้ใช้แบบ Just in time (ทันกาล) การให้บริการผู้ใช้ได้ในทันทีที่
ผู้ใช้ต้องการต้องการ โดยการดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่จากแหล่งใด
ก็ตาม มาให้ผู้ใช้ในระยะเวลาที่ผู้ใช้

บริการนำส่งสารสนเทศ D.D (Document Delivery)
           เป็นบริการเสริมที่มีการจัดทำทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งไม่มีการให้บริการ
ในห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้ได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ เป็นบริการ
ที่ผู้ใช้ไม่จะเป็นต้องไปยืมเองเพียงรอรับทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการที่ห้องสมุดหรือ
สถาบันที่ขอรับบริการ

-มีการบริการหนังสือ บทในหนังสือ บทความวารสาร รายงานการประชุม รายงาน 
การวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากห้องสมุดไม่มีให้สำหรับจัดบริการให้แก่ผู้ใช้
-มีการติดต่อเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการจากผู้จัดจำหน่าย เช่น วารสารมี
ราคาสูง จะใช้บริการเป็นครั้งๆ เมื่อต้องการ (Pay per use)
-การจัดการให้ผู้ใช้ได้เอกสารผ่านฐานข้อมูล


 วิธีการนำส่ง

  • แบบฉบับพิมพ์
1. แบบเดิม มีการบริการจัดส่งทางไปรษณีย์ โทรสาร 
2. แบบปัจจุบัน มีการบริการจัดส่งสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ สแกนส่ง แนบไฟล์
- ส่งทางไปรษณีย์ เป็นการนำส่งที่มีความล่าช้าและใช้ระยะเวลานาน
- ทางโทรสาร ข้อมูลที่ได้รับอาจไม่ชัดเจน ไม่ครบถ้วน
- ทางยานพาหนะ เป็นการนำส่งที่มีความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการกับผู้ใช้บริการ 

  • อิเล็กทรอนิกส์
- E-mail ต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเท่านั้นจึงจะทำการบริการได้
- ส่งด้วยภาพลักษณ์เอกสาร เป็นการส่งเอกสารแบบ Tiff File ไม่สามารถคัดลอกได้





ผู้ให้บริการ
 1. สถาบันบริการสารสนเทศ จัดส่งในสถาบัน เช่น 
- ทาง e-mail
- ทางระบบออนไลน์  e-office 
- ยานพาหนะที่สามารถจัดส่งทั้งภายในและภายนอกสถาบันแต่มีข้อตกลงร่วมกัน

2. ตัวแทนจัดหาและจัดส่งเอกสาร
 - ผู้ให้บริการทั่วไป Ingenta 
 -  ผู้ให้บริการเฉพาะด้านสาขา  Proquest /UMI  Thesis
 -  ผู้ให้บริการที่เป็นสำนักพิมพ์  Elsevier Science, SpringerLink
 -  ผู้ให้บริการที่เป็นผู้จำหน่ายฐานข้อมูล Dialog
 -  ผู้ให้บริการที่เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker)  Infotrieve

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการหนังสือสำรอง





บริการหนังสือสำรอง 
          บริการหนังสือสำรอง นั้นเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรสารสนเทศประเภท
การเรียนการสอน ดังนั้นบริการนี้เหมาะสำหรับอาจารย์และผู้สอน บริการหนังสือสำรอง
จึงมีการจัดให้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ง่าย และทรัพยากรสารสนเทศนั้นจัดให้
พร้อมใช้งานเสมอ เมื่อผู้ใช้ต้องการ จึงทำให้บริการหนังสือสำรองจะมีการเปลี่ยนแปลง
ทรัพยากรสารสนเทศบ่อยครั้ง บริการนี้มีการใช้กันมากในสถาบันห้องสมุดอุดมศึกษา 
ซึ่งบริการนี้จะเป้นบริการที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ขอใช้บริการ
อีกทั้งการบริการหนังสือสำรองมักจะมีระยะเวลาในการให้ยืมที่สั้น

ปรัชญาของหนังสือสำรอง
 - เน้นในการส่งเสริมการเรียนการสอน
 - มีสารสนเทศที่หลากหลายและมีบริการสารสนเทศสำหรับผู้ใช้เมื่อต้องการ


ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการยืม 
1. ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
2. ทรัพยากรสารสนเทศส่วนบุคคล
3. ซีดี (CD)
4. บทความ
5. บริการรูปภาพ PowerPoint presentation จากหนังสือหรือเว็บไซต์ให้แก่ผู้ใช้ 
6. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์ จะติดที่เรื่องลิขสิทธิ์ทำให้ทางห้องสมุด
จะมีระบบป้องกันการดาวน์โหลดหรือ คัดลอกข้อมูลต่างๆไว้ด้วย

ความสำคัญของบริการสำรองหนังสือ 
- มีบทบาทในการสนับสนุนการเรียนการสอน
- นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน
- สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างบรรณารักษ์และผู้สอน
- คุณภาพของการบริการ



งานที่ปฏิบัติของการบริการหนังสือสำรอง
1. รับใบขอใช้บริการ รับเอกสาร
 - จัดทำสำเนาหรือสแกนเอกสาร
 - ทำการเข้าเล่ม
 - จัดการระเบียบเอกสาร เช่น การจัดระบบตามหมวดหมู่ หรือจัดทำให้ผู้ใช้สามารถหยิบ
ใช้ได้ง่าย ห้องสมุดส่วนมากจะนิยมเรียงตามชื่อกระบวนวิชา ชื่อของผู้สอนซึ่งจะทำให้
ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศได้ง่ายขึ้น หรือมีการกำหนดหมายเลขไว้
2. ทำบัตรยืม
 - จัดเก็บค่าปรับหากผู้ใช้ยืมหนังสือไปเกินเวลาที่กำหนด ตามระเบียบที่กำหนดไว้
 - ดูแลรักษาความลักษณะจองเอกสารให้คงรูปแบบเดิม และดูแลความปลอดภัยของ
ทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ
 - ต้องกำหนดระยะเวลาและระเบียบในการยืม 
 - มีการจ่ายค่าปรับต่างๆ เช่น การคืน ย้ายเอกสารและการจัดเก็บเอกสาร
 - บริการที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน สำหรับดำเนินงานบริการยืมคืน
 - จัดเก็บสถิติทุกครั้ง 



แนวโน้มการให้บริการในอนาคต
- ในเรื่องของการให้บริการอาจจะมีการให้บริการในส่วนของเอกสารในรูปแบบดิจิทัล
ที่สามารถถ่ายโอนได้  มีการแสดงรายการบน OPAC เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น
- มีการจัดทำในรูปแบบออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ
เข้าถึงสารสนเทศได้ทันทีเมื่อมีความต้องการ
- ป้องกันสิทธิของผู้ใช้ และมีการจัด password protected เพื่อป้องการข้อมูลของผู้ใช้บริการ
และป้องกันการละเมิดสิทธิ์
- คณาจารย์สามารถเสนอเอกสารบนเว็บเพจของตนเองได้

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งของงานบริการยืม
ระหว่างห้องสมุดที่จัดทำการยืมทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดหรือสถาบันต่างๆ 
โดยการจัดทำการยืมทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดหรือสถาบันต่างๆ ให้กับผู้ที่
มาขอใช้บริการ และเพื่อให้มีการดำเนินงานระหว่างห้องสมุดร่วมกัน จึงมีการจำทำ
ข้อตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุดหรือสถาบันเพื่อการพัฒนาการบริการยืมระหว่าง
ห้องสมุดให้เป็นไปตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นร่วมกันจึงมีขั้นตอนดังนี้ 




1. การจัดทำคู่มือ 
เป็นการจัดทำเพื่อให้แต่ละห้องสมุดหรือสถาบันต่างๆ เข้าใจถึงหลักการและ
ข้อปฏิบัติในการใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน
2. กำหนดมาตราฐานร่วมกันระหว่างสถาบันหรือห้องสมุด 
มีการกำหนดมาตรฐานกับห้องสมุดเครือข่ายร่วมกัน ให้มีแบบแผนเดียวกัน
เพื่อความสะดวก และรวดเร็วสำหรับผู้ที่มาใช้บริการ
3.กำหนดรูปแบบการดำเนินงานการประสานงาน
          การกำหนดให้มีนโยบายในการดำเนินงานการประสานงานนั้นจะช่วยให้ การดำเนิน
งานมีประสิทธิภาพและช่วยให้เกิดความผิดพลาด ข้อผิดพลาดลดลง


การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด มีดังนี้
1. การดำเนินงานด้วยระบบมือ (Non-Automated ILL)

เป็นการดำเนินงานด้วยตัวบุคคลโดยการติดต่อทางไปรษณีย์ อีเมล หรือโทรศัพท์ 
ซึ่งจะมีการกรอกแบบฟอร์มเพื่อยืนยันในการติดต่อขอรับบริการยืมระหว่างห้องสมุด
ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีหลายขั้นตอนที่ซับซ้อน จึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้
หรือเกิดความผิดพลาดในการทำงานขึ้นได้ ดังนั้นทางห้องสมุดควรที่จะ


- จัดให้มีระบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อการปฏิบัติงานที่ตรงกันในเครือข่ายของห้องสมุด
และทำให้ผู้ที่มาขอรับบริการไม่เกิดความสับสน อีกทั้งยังช่วยผู้ใช้ในการอ้างอิงทรัพยากร
สารสนเทศและการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการได้ง่ายยิ่งขึ้น
- การใช้แบบฟอร์ม (Manual request) ที่เป็นแบบเดียวกันเพื่อให้ห้องสมุดหรือสถาบันได้รับ
ข้อมูลที่ครบถ้วน และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกและ
รวดเร็วยิ่งขึ้นในการขอรับบริการยืมระหว่างสถาบัน 
2. การดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ (Automated ILL)

          เป็นการดำเนินงานผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งง่ายต่อการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
ของผู้ใช้อีกทั้งยังให้ความสะดวกและรวดเร็วมรการบริการมากกว่าการดำเนินงานด้วยระบบมือ



- สามารถค้นในฐานข้อมูลท้องถิ่นไปจนถึงระดับนานาชาติได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก
และง่ายต่อการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้เร็วยิ่งขึ้น

- สามารถยืมสารสนเทศผ่านทางเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต (Interlibrary Loan SW-ILL SW) ซึ่งทำ
ให้ทราบว่าทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการอยู่ที่ห้องสมุดใดบ้าง อีกทั้งยังง่ายต่อการยืมระหว่าง
ห้องสมุดเพราะสามารถเลือกห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการที่ใกล้ที่สุดได้ ซึ่งจะ
ทำให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรอย่างรวดเร็วและประหยัดเวลาของผู้ใช้อีกด้วย



การคิดค่าบริการ

            ทางสถาบันจะมีการคิดค่าบริการเพื่อให้ผู้ใช้บริการมารับรายการที่ทำการยืมไว้ ซึ่งจะ
ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าทางสถาบันจะทำการดำเนินการรายการที่ยืมไว้อย่างแน่นอน และทาง
สถาบันจะจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่เกิดการสูญหาย




ข้อคำนึงด้านจริยธรรมและกฎหมาย
การยืมระหว่างสถาบันจำเป็นต้องคำนึงถึงกฎหมายลิขสิทธิ์เนื่องจากการทำการยืม
ทรัพยากรสารสนเทศระหว่างสถาบันนั้นจะมีการทำสำเนาบทความจากหนังสือ หรือทรัพยากร
อื่นๆ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้นทางสถาบันควรจะมีการขออนุญาตเจ้า
ของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของผลงานก่อน เพื่อป้องกันผู้ใช้คนอื่นๆละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์



วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน Inter Library Loan (ILL)





บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน หรือ Inter Library Loan (ILL) 
     เป็นส่วนหนึ่งของงานบริการห้องสมุดที่ทางห้องสมุดจะจัดทำขึ้นเพื่อ
อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ เกี่ยวกับการบริการทรัพยากรสารสนเทศ
เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศมีมากมาย ซึ่งในแต่ละห้องสมุดไม่สามารถ
มีทรัพยากรสารสนเทศครบ จึงเกิดข้อตกลงต่างๆร่วมกันในแต่ละห้องสมุด
เพื่อให้ผู้ใช้สามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศจากแหล่งอื่น หรือจากห้องสมุดอื่น
ทั้งห้องสมุดภายในประเทศและห้องสมุดต่างประเทศ รูปแบบในการยืม
ทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดต่างประเทศนั้นจะเป็นฐานข้อมูล 
ถ้าหากเป็นห้องสมุดภายในประเทศจะสามารถยืม หนังสือ หรือ อุปกรณ์ 
วัสดุ อื่นๆได้ ซึ่งบริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบันนี้จะต้องปฏิบัติตาม
กฎระเบียบของห้องสมุดอื่นๆ อย่างเคร่งครัด งาน ILL ประกอบด้วย  
การขอยืม (Borrowing) และ การให้ยืม (Lending)

ประโยชน์ของบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1. ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าทรัพยากร
สารสนเทศนั้นอยู่ที่ห้องสมุดใดหรือจัดเก็บไว้ที่สถานที่ใดก็ตาม
2.ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้เพราะผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปหา
ทรัพยากรสารสนเทศเอง แต่บริการนี้จะจัดการให้ทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ นั้น
เดินทางมาหาผู้ใช้และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

ความสำคัญของบริการ ILL
1. เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
- ลดปัญหาของการมีทรัพยากรสารสนเทศไม่เพียงพอ
- เกิดความเท่าเทียมกันในด้านของการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
2. ลดข้อจำกัดด้านระยะทางของผู้ที่ใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึง
ทรัพยากรสารสนเทศได้ง่ายและไม่ต้องเดินทางไปหาทรัพยากรสารสนเทศ
3. ใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างคุ้มค่า
4. ประหยัดงบประมานการสั่งซื้อทรัพยากรสารสนเทศ และการสั่งซื้อซ้ำซ้อน
5. เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่หายากซึ่งมีเพียงบางสถาบันเท่านั้น 
6. สร้างความเข้มแข็งในการจัดการในกลุ่มเครือข่ายห้องสมุด
7. สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับห้องสมุด

ปรัชญาของการบริการ ILL
- ทรัพยากรสารสนเทศมีจำนวนมากไม่มีห้องสมุดไหนที่จะมีทรัพยากรสารสนเทศ
บริการผู้ใช้ได้ครบทั้งหมด
- ความร่วมมือของสถาบันหรือห้องสมุดต่างๆ เป็นพื้นฐานในการให้บริการ ILL
- ความต้องการของผู้ที่มาใช้บริการเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับสถาบันหรือห้องสมุด 
การบริการทรัพยากรสารสนเทศให้ผู้ใช้บริการพึงพอใจจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด

องค์ประกอบการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
ต้องมีการติดต่อสื่อสารไปยังห้องสมุดที่จะมาเข้ารวมการยืมระหว่างห้องสมุด 
เพื่อเป็นการขยายของฐานทรัพยากรสารสนเทศ และเป็นการกระจายทรัพยากร
สารสนเทศ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยกรสารสนเทศได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย
2. สร้างข้อตกลงความร่วมมือในการบริการร่วมกัน  
เพื่อที่จะทำให้การปฏิบัติงานชัดเจน ทำให้การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
ในการยืมระหว่างห้องสมุดร่วมกัน
3. มีแบบฟอร์มประกอบการยืมคืนระหว่างห้องสมุด 
ต้องมีการกรอกแบบฟอร์มประกอบการยืมคืนระหว่างห้องสมุด เพื่อที่จะใช้ใน
การยืมคืนระหว่างห้องสมุดจะได้เป็นแบบเดียวกัน
4. การเป็นสมาชิกของเครือข่ายความร่วมมือ
การเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือจะทำให้มีทรัพยากรสารสนเทศ
จำนวนมากขึ้น และมีความหลากหลาย อีกทั้งยังทำให้ผู้ใช้ได้ทรัพยากรสารสนเทศ
ที่ต้องการมากขึ้นด้วย