วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการนำส่งเอกสาร

บริการนำส่งเอกสาร 
         บริการในการจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ รวมถึง
สิ่งพิมพ์ที่ยังไม่ได้เผยแพร่จัดส่งในรูปแบบกระดาษหรือวัสดุย่อส่วนหรือเอกสาร
อิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการคิดค่าบริการส่งสำหรับผู้ขอ
รับบริการด้วย อีกทั้งผู้บริการนำส่งจะต้องทราบเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ และการ
เสียค่าลิขสิทธิ์ด้วย



ปรัชญาของการบริการ
  • ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถมีทรัพยากรสารสนเทศครบตามที่ผู้ใช้ต้องการ
  • เพื่อตอบความต้องการผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง อีกทั้งยังบริการ
ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
  • แก้ปัญหาการบริการ  ไฟไหม้ น้ำท่วม หาย
  • เพิ่มศักยภาพในการบริการให้กับห้องสมุดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้

วัตถุประสงค์ของการบริการ
           เพื่อการให้บริการผู้ใช้แบบ Just in time (ทันกาล) การให้บริการผู้ใช้ได้ในทันทีที่
ผู้ใช้ต้องการต้องการ โดยการดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่จากแหล่งใด
ก็ตาม มาให้ผู้ใช้ในระยะเวลาที่ผู้ใช้

บริการนำส่งสารสนเทศ D.D (Document Delivery)
           เป็นบริการเสริมที่มีการจัดทำทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งไม่มีการให้บริการ
ในห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้ได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ เป็นบริการ
ที่ผู้ใช้ไม่จะเป็นต้องไปยืมเองเพียงรอรับทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการที่ห้องสมุดหรือ
สถาบันที่ขอรับบริการ

-มีการบริการหนังสือ บทในหนังสือ บทความวารสาร รายงานการประชุม รายงาน 
การวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากห้องสมุดไม่มีให้สำหรับจัดบริการให้แก่ผู้ใช้
-มีการติดต่อเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการจากผู้จัดจำหน่าย เช่น วารสารมี
ราคาสูง จะใช้บริการเป็นครั้งๆ เมื่อต้องการ (Pay per use)
-การจัดการให้ผู้ใช้ได้เอกสารผ่านฐานข้อมูล


 วิธีการนำส่ง

  • แบบฉบับพิมพ์
1. แบบเดิม มีการบริการจัดส่งทางไปรษณีย์ โทรสาร 
2. แบบปัจจุบัน มีการบริการจัดส่งสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ สแกนส่ง แนบไฟล์
- ส่งทางไปรษณีย์ เป็นการนำส่งที่มีความล่าช้าและใช้ระยะเวลานาน
- ทางโทรสาร ข้อมูลที่ได้รับอาจไม่ชัดเจน ไม่ครบถ้วน
- ทางยานพาหนะ เป็นการนำส่งที่มีความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการกับผู้ใช้บริการ 

  • อิเล็กทรอนิกส์
- E-mail ต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเท่านั้นจึงจะทำการบริการได้
- ส่งด้วยภาพลักษณ์เอกสาร เป็นการส่งเอกสารแบบ Tiff File ไม่สามารถคัดลอกได้





ผู้ให้บริการ
 1. สถาบันบริการสารสนเทศ จัดส่งในสถาบัน เช่น 
- ทาง e-mail
- ทางระบบออนไลน์  e-office 
- ยานพาหนะที่สามารถจัดส่งทั้งภายในและภายนอกสถาบันแต่มีข้อตกลงร่วมกัน

2. ตัวแทนจัดหาและจัดส่งเอกสาร
 - ผู้ให้บริการทั่วไป Ingenta 
 -  ผู้ให้บริการเฉพาะด้านสาขา  Proquest /UMI  Thesis
 -  ผู้ให้บริการที่เป็นสำนักพิมพ์  Elsevier Science, SpringerLink
 -  ผู้ให้บริการที่เป็นผู้จำหน่ายฐานข้อมูล Dialog
 -  ผู้ให้บริการที่เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker)  Infotrieve

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการหนังสือสำรอง





บริการหนังสือสำรอง 
          บริการหนังสือสำรอง นั้นเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรสารสนเทศประเภท
การเรียนการสอน ดังนั้นบริการนี้เหมาะสำหรับอาจารย์และผู้สอน บริการหนังสือสำรอง
จึงมีการจัดให้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ง่าย และทรัพยากรสารสนเทศนั้นจัดให้
พร้อมใช้งานเสมอ เมื่อผู้ใช้ต้องการ จึงทำให้บริการหนังสือสำรองจะมีการเปลี่ยนแปลง
ทรัพยากรสารสนเทศบ่อยครั้ง บริการนี้มีการใช้กันมากในสถาบันห้องสมุดอุดมศึกษา 
ซึ่งบริการนี้จะเป้นบริการที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ขอใช้บริการ
อีกทั้งการบริการหนังสือสำรองมักจะมีระยะเวลาในการให้ยืมที่สั้น

ปรัชญาของหนังสือสำรอง
 - เน้นในการส่งเสริมการเรียนการสอน
 - มีสารสนเทศที่หลากหลายและมีบริการสารสนเทศสำหรับผู้ใช้เมื่อต้องการ


ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการยืม 
1. ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
2. ทรัพยากรสารสนเทศส่วนบุคคล
3. ซีดี (CD)
4. บทความ
5. บริการรูปภาพ PowerPoint presentation จากหนังสือหรือเว็บไซต์ให้แก่ผู้ใช้ 
6. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์ จะติดที่เรื่องลิขสิทธิ์ทำให้ทางห้องสมุด
จะมีระบบป้องกันการดาวน์โหลดหรือ คัดลอกข้อมูลต่างๆไว้ด้วย

ความสำคัญของบริการสำรองหนังสือ 
- มีบทบาทในการสนับสนุนการเรียนการสอน
- นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน
- สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างบรรณารักษ์และผู้สอน
- คุณภาพของการบริการ



งานที่ปฏิบัติของการบริการหนังสือสำรอง
1. รับใบขอใช้บริการ รับเอกสาร
 - จัดทำสำเนาหรือสแกนเอกสาร
 - ทำการเข้าเล่ม
 - จัดการระเบียบเอกสาร เช่น การจัดระบบตามหมวดหมู่ หรือจัดทำให้ผู้ใช้สามารถหยิบ
ใช้ได้ง่าย ห้องสมุดส่วนมากจะนิยมเรียงตามชื่อกระบวนวิชา ชื่อของผู้สอนซึ่งจะทำให้
ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศได้ง่ายขึ้น หรือมีการกำหนดหมายเลขไว้
2. ทำบัตรยืม
 - จัดเก็บค่าปรับหากผู้ใช้ยืมหนังสือไปเกินเวลาที่กำหนด ตามระเบียบที่กำหนดไว้
 - ดูแลรักษาความลักษณะจองเอกสารให้คงรูปแบบเดิม และดูแลความปลอดภัยของ
ทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ
 - ต้องกำหนดระยะเวลาและระเบียบในการยืม 
 - มีการจ่ายค่าปรับต่างๆ เช่น การคืน ย้ายเอกสารและการจัดเก็บเอกสาร
 - บริการที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน สำหรับดำเนินงานบริการยืมคืน
 - จัดเก็บสถิติทุกครั้ง 



แนวโน้มการให้บริการในอนาคต
- ในเรื่องของการให้บริการอาจจะมีการให้บริการในส่วนของเอกสารในรูปแบบดิจิทัล
ที่สามารถถ่ายโอนได้  มีการแสดงรายการบน OPAC เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น
- มีการจัดทำในรูปแบบออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ
เข้าถึงสารสนเทศได้ทันทีเมื่อมีความต้องการ
- ป้องกันสิทธิของผู้ใช้ และมีการจัด password protected เพื่อป้องการข้อมูลของผู้ใช้บริการ
และป้องกันการละเมิดสิทธิ์
- คณาจารย์สามารถเสนอเอกสารบนเว็บเพจของตนเองได้

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งของงานบริการยืม
ระหว่างห้องสมุดที่จัดทำการยืมทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดหรือสถาบันต่างๆ 
โดยการจัดทำการยืมทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดหรือสถาบันต่างๆ ให้กับผู้ที่
มาขอใช้บริการ และเพื่อให้มีการดำเนินงานระหว่างห้องสมุดร่วมกัน จึงมีการจำทำ
ข้อตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุดหรือสถาบันเพื่อการพัฒนาการบริการยืมระหว่าง
ห้องสมุดให้เป็นไปตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นร่วมกันจึงมีขั้นตอนดังนี้ 




1. การจัดทำคู่มือ 
เป็นการจัดทำเพื่อให้แต่ละห้องสมุดหรือสถาบันต่างๆ เข้าใจถึงหลักการและ
ข้อปฏิบัติในการใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน
2. กำหนดมาตราฐานร่วมกันระหว่างสถาบันหรือห้องสมุด 
มีการกำหนดมาตรฐานกับห้องสมุดเครือข่ายร่วมกัน ให้มีแบบแผนเดียวกัน
เพื่อความสะดวก และรวดเร็วสำหรับผู้ที่มาใช้บริการ
3.กำหนดรูปแบบการดำเนินงานการประสานงาน
          การกำหนดให้มีนโยบายในการดำเนินงานการประสานงานนั้นจะช่วยให้ การดำเนิน
งานมีประสิทธิภาพและช่วยให้เกิดความผิดพลาด ข้อผิดพลาดลดลง


การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด มีดังนี้
1. การดำเนินงานด้วยระบบมือ (Non-Automated ILL)

เป็นการดำเนินงานด้วยตัวบุคคลโดยการติดต่อทางไปรษณีย์ อีเมล หรือโทรศัพท์ 
ซึ่งจะมีการกรอกแบบฟอร์มเพื่อยืนยันในการติดต่อขอรับบริการยืมระหว่างห้องสมุด
ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีหลายขั้นตอนที่ซับซ้อน จึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้
หรือเกิดความผิดพลาดในการทำงานขึ้นได้ ดังนั้นทางห้องสมุดควรที่จะ


- จัดให้มีระบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อการปฏิบัติงานที่ตรงกันในเครือข่ายของห้องสมุด
และทำให้ผู้ที่มาขอรับบริการไม่เกิดความสับสน อีกทั้งยังช่วยผู้ใช้ในการอ้างอิงทรัพยากร
สารสนเทศและการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการได้ง่ายยิ่งขึ้น
- การใช้แบบฟอร์ม (Manual request) ที่เป็นแบบเดียวกันเพื่อให้ห้องสมุดหรือสถาบันได้รับ
ข้อมูลที่ครบถ้วน และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกและ
รวดเร็วยิ่งขึ้นในการขอรับบริการยืมระหว่างสถาบัน 
2. การดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ (Automated ILL)

          เป็นการดำเนินงานผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งง่ายต่อการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
ของผู้ใช้อีกทั้งยังให้ความสะดวกและรวดเร็วมรการบริการมากกว่าการดำเนินงานด้วยระบบมือ



- สามารถค้นในฐานข้อมูลท้องถิ่นไปจนถึงระดับนานาชาติได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก
และง่ายต่อการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้เร็วยิ่งขึ้น

- สามารถยืมสารสนเทศผ่านทางเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต (Interlibrary Loan SW-ILL SW) ซึ่งทำ
ให้ทราบว่าทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการอยู่ที่ห้องสมุดใดบ้าง อีกทั้งยังง่ายต่อการยืมระหว่าง
ห้องสมุดเพราะสามารถเลือกห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการที่ใกล้ที่สุดได้ ซึ่งจะ
ทำให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรอย่างรวดเร็วและประหยัดเวลาของผู้ใช้อีกด้วย



การคิดค่าบริการ

            ทางสถาบันจะมีการคิดค่าบริการเพื่อให้ผู้ใช้บริการมารับรายการที่ทำการยืมไว้ ซึ่งจะ
ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าทางสถาบันจะทำการดำเนินการรายการที่ยืมไว้อย่างแน่นอน และทาง
สถาบันจะจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่เกิดการสูญหาย




ข้อคำนึงด้านจริยธรรมและกฎหมาย
การยืมระหว่างสถาบันจำเป็นต้องคำนึงถึงกฎหมายลิขสิทธิ์เนื่องจากการทำการยืม
ทรัพยากรสารสนเทศระหว่างสถาบันนั้นจะมีการทำสำเนาบทความจากหนังสือ หรือทรัพยากร
อื่นๆ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้นทางสถาบันควรจะมีการขออนุญาตเจ้า
ของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของผลงานก่อน เพื่อป้องกันผู้ใช้คนอื่นๆละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์



วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน Inter Library Loan (ILL)





บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน หรือ Inter Library Loan (ILL) 
     เป็นส่วนหนึ่งของงานบริการห้องสมุดที่ทางห้องสมุดจะจัดทำขึ้นเพื่อ
อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ เกี่ยวกับการบริการทรัพยากรสารสนเทศ
เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศมีมากมาย ซึ่งในแต่ละห้องสมุดไม่สามารถ
มีทรัพยากรสารสนเทศครบ จึงเกิดข้อตกลงต่างๆร่วมกันในแต่ละห้องสมุด
เพื่อให้ผู้ใช้สามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศจากแหล่งอื่น หรือจากห้องสมุดอื่น
ทั้งห้องสมุดภายในประเทศและห้องสมุดต่างประเทศ รูปแบบในการยืม
ทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดต่างประเทศนั้นจะเป็นฐานข้อมูล 
ถ้าหากเป็นห้องสมุดภายในประเทศจะสามารถยืม หนังสือ หรือ อุปกรณ์ 
วัสดุ อื่นๆได้ ซึ่งบริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบันนี้จะต้องปฏิบัติตาม
กฎระเบียบของห้องสมุดอื่นๆ อย่างเคร่งครัด งาน ILL ประกอบด้วย  
การขอยืม (Borrowing) และ การให้ยืม (Lending)

ประโยชน์ของบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1. ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าทรัพยากร
สารสนเทศนั้นอยู่ที่ห้องสมุดใดหรือจัดเก็บไว้ที่สถานที่ใดก็ตาม
2.ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้เพราะผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปหา
ทรัพยากรสารสนเทศเอง แต่บริการนี้จะจัดการให้ทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ นั้น
เดินทางมาหาผู้ใช้และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

ความสำคัญของบริการ ILL
1. เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
- ลดปัญหาของการมีทรัพยากรสารสนเทศไม่เพียงพอ
- เกิดความเท่าเทียมกันในด้านของการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
2. ลดข้อจำกัดด้านระยะทางของผู้ที่ใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึง
ทรัพยากรสารสนเทศได้ง่ายและไม่ต้องเดินทางไปหาทรัพยากรสารสนเทศ
3. ใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างคุ้มค่า
4. ประหยัดงบประมานการสั่งซื้อทรัพยากรสารสนเทศ และการสั่งซื้อซ้ำซ้อน
5. เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่หายากซึ่งมีเพียงบางสถาบันเท่านั้น 
6. สร้างความเข้มแข็งในการจัดการในกลุ่มเครือข่ายห้องสมุด
7. สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับห้องสมุด

ปรัชญาของการบริการ ILL
- ทรัพยากรสารสนเทศมีจำนวนมากไม่มีห้องสมุดไหนที่จะมีทรัพยากรสารสนเทศ
บริการผู้ใช้ได้ครบทั้งหมด
- ความร่วมมือของสถาบันหรือห้องสมุดต่างๆ เป็นพื้นฐานในการให้บริการ ILL
- ความต้องการของผู้ที่มาใช้บริการเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับสถาบันหรือห้องสมุด 
การบริการทรัพยากรสารสนเทศให้ผู้ใช้บริการพึงพอใจจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด

องค์ประกอบการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
ต้องมีการติดต่อสื่อสารไปยังห้องสมุดที่จะมาเข้ารวมการยืมระหว่างห้องสมุด 
เพื่อเป็นการขยายของฐานทรัพยากรสารสนเทศ และเป็นการกระจายทรัพยากร
สารสนเทศ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยกรสารสนเทศได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย
2. สร้างข้อตกลงความร่วมมือในการบริการร่วมกัน  
เพื่อที่จะทำให้การปฏิบัติงานชัดเจน ทำให้การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
ในการยืมระหว่างห้องสมุดร่วมกัน
3. มีแบบฟอร์มประกอบการยืมคืนระหว่างห้องสมุด 
ต้องมีการกรอกแบบฟอร์มประกอบการยืมคืนระหว่างห้องสมุด เพื่อที่จะใช้ใน
การยืมคืนระหว่างห้องสมุดจะได้เป็นแบบเดียวกัน
4. การเป็นสมาชิกของเครือข่ายความร่วมมือ
การเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือจะทำให้มีทรัพยากรสารสนเทศ
จำนวนมากขึ้น และมีความหลากหลาย อีกทั้งยังทำให้ผู้ใช้ได้ทรัพยากรสารสนเทศ
ที่ต้องการมากขึ้นด้วย



วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ค่าปรับในการยืม-คืน

ค่าปรับในการยืม-คืน

        การยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศในแต่ละห้องสมุด จะมีการกำหนดวันเวลา
ที่สามารถใช้ในการยืม-คืน และมีกฏระเบียบในการยืม-คืนที่ต่างกันในห้องสมุด
แต่ละแห่ง เช่น การสมัครสมาชิก ระยะเวลาในการยืมทรัพยากรสารสนเทศ
จำนวนในการยืมทรัพยากรสารสนเทศ หากผู้ใช้บริการได้ทำการยืน-คืน ทรัพยากร
สารสนเทศขึ้นทำให้มีโอกาสที่ผู้ใช้บริการจะส่งคืนเกินกำหนดระยะเวลาที่ทาง
ห้องสมุดกำหนดไว้ หรือ ทำให้ทรัพยากรนั้นมีความเสียหายสูญหายไป ทำให้
ทางห้องสมุดแต่ละก้องจะต้องกำหนดค่าใช้จ่ายสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ
ทรัพยากรทุกชิ้นของห้องสมุด

http://www.bloggang.com/data/passepartout/picture/1214834491.jpg

การกำหนดค่าปรับ

การกำหนดการจ่ายค่าปรับนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสถาบันหรือห้องสมุด
ว่าได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับการจ่ายค่าปรับอย่างไร

1.เมื่อถึงกำหนดการจ่ายค่าปรับนั้น สถาบันหรือห้องสมุดจะต้องมีการแจ้งเตือน
ผู้ใช้ล่วงหน้า เพื่อช่วยเตือนผู้ใช้นำทรัพยากรสารสนเทศมาคืนตามกำหนดเวลาและ
เพื่อป้องกันความผิดพลาด เกี่ยวกับวันและเวลาที่ต้องส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศ
2.ทรัพยากรสารสนเทศจะมีระยะเวลาในการยืมที่แตกต่างกัน ตามแต่นโยบายของ
สถาบันนั้นๆ และตามลักษณะของทรัพยากรสารสนเทศ หากเป็นทรัพยากรสารสนเทศ
ที่ยืมได้ในระยะเวลาสั้น จะมีค่าปรับที่ราคาสูงกว่าทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมได้
นานวันกว่า

http://www.bloggang.com/data/passepartout/picture/1214836798.jpg

การจ่ายค่าปรับให้กับห้องสมุด

1.จ่ายที่เคาร์เตอร์บริการยืม - คืน
2.จ่ายผ่านระบบอัตโนมัติ (Automated systems automatically calculatefines)
3.บางห้องสมุดเปิดให้มีการผ่อนผันการต่อรองระหว่างผู้ยืมและเจ้าหน้าที่
4.สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัย ค่าปรับจะต้องนำส่งมหาวิทยาลัย

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืม-คืน (Circulation Service)


บริการยืม-คืน     เป็นบริการที่สำคัญระดับแรกของบริการห้องสมุด เนื่องจากบริการยืม-คืน
เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศภายใน
ห้องสมุดได้อย่างเต็มที่ และบริการยืม-คืนยังอำนวยความสะดวกได้ตามความต้องการ
ของผู้ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดอีกด้วย

บทบาทหน้าที่ การยืม-คืน

1. การควบคุมงานบริการยืม-คืน     ต้องมีการควบคุมบริการให้ดี เพื่อลด
ความผิดพลาด และมีความรวดเร็วในการยืม-คืน
2. ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด     การบริการเป็นส่วนสำคัญ เพราะจุดประชาสัมพันธ์
ของห้องสมุดเป็นสถานที่แรกที่จะเจอที่ผู้ใช้จะเข้ามารับบริการ จึงต้องมีการบริหาร
ในการยืม-คืนให้ดีให้ผู้ใช้เกิด ความประทับใจ และกลับมาใช้บริการอีก


การจัดการ

1. ห้องสมุดขนาดเล็ก     ห้องสมุดที่มีผู้มาใช้บริการไม่มาก จะมีการจัดระบบ
การดำเนินงานโดยมีบรรณารักษ์ เลือกและจัดพนักงาน ตามนโยบาย
และขั้นตอน บรรณารักษ์เป็นผู้กำกับดูแลการทำงานของพนักงาน
2. ห้องสมุดขนาดกลาง     เป็นห้องสมุดที่มีจำนวนผู้มาใช้บริการมากกว่า
ห้องสมุดขนาดเล็ก โดยมีการจัดการระบบการดำเนินงานโดยมีหัวหน้าแผนก
เป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบบรรณารักษ์
3. ห้องสมุดขนาดใหญ่    ห้องสมุดขนาดใหญ่มีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก 
จึงมีการจัดการดำเนินงานโดยมีหัวหน้าออกคำสั่งให้กับหัวหน้าหน่วยหรือผู้ช่วย
บรรณารักษ์ จะเป็นตัวแทนในการจัดการพนักงาน เพื่อที่ให้บริการประชาชน
และหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง

ความรู้และทักษะที่ต้องการ

1. มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นมิตรกับทุกคน
2. มีไหวพริบ และมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
3. มีใจรักในบริการ และมีความอดทนสูง
4. มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศที่ภายในห้องสมุดมีไว้บริการ
5. มีทักษะการใช้ คอมพิวเตอร์ และฐานข้อมูล OPAC



เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในบริการยืม - คืน

  • ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้นทำให้จึงทำให้เกิด
การยืม-คืนที่สะดวกกับผู้ใช้มากขึ้น เช่น ระบบงานยืม-คืนอัตโนมัติ 

ระบบงานยืม-คืนอัตโนมัติ คือ การยืมคืนอัตโนมัติเป็นระบบที่ทำให้การยืน-คืน
ทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ มีการดำเนินงานที่รวดเร็วขึ้น เป็นระเบียบและมี
ความผิดพลาดน้อยลง เราสามารถตรวจเช็คข้อมูลขอผู้ใช้ได้ด้วยว่า 
พฤติกรรมของผู้ใช้นั้นเป็นแบบไหน และประวัติการยืม-คืนเป็นอย่างไร 
เมื่อมีข้อมูลเป็นจำนวนมากพอ ทำให้ในการจัดการห้องสมุดเป็นไปตรงตาม
ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและนโยบายของห้องสมุดนั้นๆ

1.เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode)     




สัญญลักษณ์รหัสแท่งที่ใช้แทนข้อมูลตัวเลขมีลักษณะเป็นแถบมีความหนาบาง
แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่


2.คิวอาร์โค๊ด (QR Code, 2D Barcode)     




QR Code หรือ 2D Barcode เป็นรูปแบบหนึ่งของเทคโนโลยีรหัสแท่ง 
(Barcode technology) โดยพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีรหัสแท่งแบบเดิม 


3.เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identify - RFID)     




เป็นเทคโนโลยีที่นำคลื่นวิทยุ มาระบุถึงลักษณะของวัตถุต่างๆที่ติด RFID 
ยังสามารถอ่านข้อมูลและเขียนข้อมูลลงไปยัง tag ได้ อีกทั้งยังสามารถใส่ข้อมูลอื่น
ลงไปได้ เช่น ลักษณะของสิ่งของ ,สถานที่ ,วันเดือนปีที่ผลิต การอ่านข้อมลูลของ 
RFID ไม่ต้องอาศัยการสัมผัส ไม่ต้องมองเห็น ทนต่อความชื้น และสามารถอ่านค่า
ในขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ ยังเป็นระบบอัตโนมัติอีกด้วย เมื่อเราเปรียบเทียบดูแล้ว 
RFID จะมาแทนที่ของ Barcode เทคโนโลยีดังกล่าวนี้สามารถทำให้ระบบการยืม-คืน 
ทรัพยากรสารสนเทศ มีความรวดเร็ว ,สะดวก และยังบอกรายละเอียดชัดเจน 
และสามารถป้องกันการสูญหาย ของทรัพากรสารสนเทศต่างๆได้เป็นอย่างดี

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Library Building & Spaces

ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่บริการทรัพยากรสารสนเทศให้กับผู้มาใช้บริการ 
จึงจะต้องอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการ
ทั้งภายในและภายนอกเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้มาใช้บริการ 
อีกทั้งการที่ห้องสมุดมีรูปลักษณ์ที่แปลกตาไม่เหมือนกับห้องสมุดอื่น
จะสามารถเพิ่มความสนใจกับผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น

การสร้างสรรค์ปัจจัยต่างๆของห้องสมุด

National Library in Astana, Kazakhstan.

- อาคาร     การตกแต่งรูปลักษณ์อาคารเพื่อดึงดูดความสนใจให้ผู้บริการอยากเข้ามา
ใช้บริการทำได้โดยการออกแบบอาคารให้มีลักษณะทันสมัย และผ่อนคลาย
เมื่อมองมาจากภายนอก การที่ทำให้สถานที่ดูผ่อนคลายนั้นจะช่วยให้ผู้ที่มาใช้บริการ
อยากเข้ามาใช้บริการ เพราะเนื่องจากห้องสมุดส่วนมากจะมีอาคารลักษณะภายนอก
ที่ดูเคร่งเครียดเป็นตึกรูปลักษณ์ธรรมดาไม่ทันสมัย



- ภายในอาคาร     การจัดรูปแบบภายในอาคารอาจจัดทำในรูปแบบใหม่ เช่น ชั้นวาง
หนังสืออาจทำให้เกิดลักษณะที่ไม่ใช่แค่ชั้นวางหนังสือแบบเดิมๆ แต่ออกแบบมา
เพื่อเพิ่มสีสันภายในห้องสมุดซึ่งจะทำให้ผู้มาใช้บริการเกิดความสร้างสรรค์และ
จินตานาการในการใช้บริการ การออกแบบมุมต่างๆภายในห้องสมุด เก้าอี้ โต๊ะ
ที่เหมาะสมสำหรับผู้มาใช้บริการ และสร้างความทันสมัยให้กับห้องสมุด


ห้องสมุด Amphitheatre

- แสงสว่าง     การจัดแสงสว่างภายในห้องสมุด ควรจัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ
แต่ไม่มากเกินไป เพราะ การจัดแสงสว่างที่มากจนเกินไปจะทำให้เกิดความร้อนและ
เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติอีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ควรจะใช้
แสงสว่างจากภายนอกซึ่งเป็นแสงสว่างจากธรรมชาติ การใช้สีของหลอดไฟก็
เป็นส่วนหนึ่งในการจัดแสงสว่างภายในอาคาร ซึ่งควรจะจัดแสงสว่างให้เหมาะสม


http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2009/06/food-in-library.png

- ป้าย สัญลักษณ์     ป้าย สัญลักษณ์ต่างๆ ภายในห้องสมุดเป็นการระบุรายละเอียด
ต่างๆ ของห้องสมุด บอกตำแหน่งที่ตั้งของทรัพยากรสารสนเทศหรือ อื่นๆ การมีป้าย
ที่ชัดเจนจะสามารถทำให้ผู้ใช้เข้าใจในระเบียบของการใช้ห้องสมุดมากขึ้น อีกทั้งยัง
ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดอีกด้วย




- เฟอร์นิเจอร์     เฟอร์นิเจอร์ภายในห้องสมุดจะต้องมีความทันสมัยและสะดวกสบาย
ในการใช้เนื่องจากผู้ใช้ห้องสมุดจะเข้ามาใช้เป็นเวลานานจึงต้องมีความสบายและ
มีสีสันที่ทันสมัยรูปร่างที่แปลกตาเพื่อให้ผู้ใช้เกิดความเพลิดเพลิน และรู้สึกผ่อนคลาย
เมื่อเข้ามาใช้บริการในห้องสมุด


http://www.pps.k12.or.us/schools/creston/files/school-creston/Macbook_Wireless_lab.jpg


- อุปกรณ์     อุปกรณ์ต่างๆที่ควรนำมาบริการภายในห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้บริการ
ทรัพยากรสารสนเทศได้สะดวกและครบถ้วน เมื่อต้องการค้นหาในสารสนเทศที่ต้องการ
อุปกรณ์ที่ควรนำมาบริการ ได้แก่ Smart Board, Intelligence Board,wireless lab cart,Book binder,Digital Microfilm Scanning,Shelves reader เป็นต้น